Page 139 - kpi17073
P. 139
138 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายมหาชน จึงต้องวินิจฉัยตามเจตนารมณ์ที่ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นั้นต้องไม่มีสถานะอันอาจก่อให้เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ดังนั้น การเป็น “ลูกจ้าง” หรือ
“ผู้รับจ้าง” จึงมิได้มีนัยสำคัญเพราะไม่ว่าจะมีสิทธิหรือมีความรับผิดแตกต่างจากกันในทางแพ่ง
อย่างไร แต่สาระสำคัญของสองสถานะนี้ คือการเป็นตำแหน่งที่ “รับเงินจากการทำงานให้ผู้อื่น”
ซึ่งเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ หากพิจารณาในแง่มุมนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ก็ถือว่าสมเหตุสมผล
แต่ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็คือ
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตุลาการที่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น สัดส่วนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากฝ่าย
ตุลาการนั้นมีมากจนเกินกึ่งหนึ่งขององค์คณะทั้งหมดที่จะมีได้ในศาลรัฐธรรมนูญ คืออยู่ที่สัดส่วน
5 ต่อ 4 คน และ 4 คนที่เหลือนั้น ก็ไม่ได้มาจากการเลือกหรือการสรรหาโดยตรงจากตัวแทน
ประชาชนด้วย แต่เป็นการ “ให้ความเห็นชอบ” โดยวุฒิสภา (ซึ่งวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550
ก็ประกอบด้วยตัวแทนโดยตรงจากการเลือกตั้งเข้ามาของประชาชนเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น) ซึ่งอำนาจ
ในการสรรหาตัวบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นของคณะกรรมการ
สรรหา ที่มีตัวแทนจากฝ่ายสภาเพียงสองคนจากห้าคนเท่านั้น
การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความเชื่อมโยงกับประชาชนน้อย แต่อำนาจหน้าที่ของ
ศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องพิจารณาวินิจฉัยในเรื่องใดที่เป็นการขัดหรือแย้งต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ
ฝ่ายการเมืองที่มีที่มาใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่า และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญต้องตัดสินปัญหาที่มี
ความเกี่ยวข้องในทางการเมือง ซึ่งหลายกรณีเป็นการชี้ถูกชี้ผิดในทางการเมือง หรือเป็นการให้
อำนาจ หรือจำกัดอำนาจของรัฐบาลที่มาจากตัวแทนของประชาชนส่วนมากของประเทศ ด้วยเหตุนี้
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ย่อมก่อให้เกิดแรงกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งที่ปะทะอยู่ใน
ด้านตรงข้ามกับศาลรัฐธรรมนูญ คือประชาชนเสียงข้างมาก ที่ต้องไม่ลืมว่า อำนาจอธิปไตย
หรืออำนาจสถาปนาองค์กรทางการเมืองนั้น ไม่ว่าจะมองด้วยมุมมองอย่างไรก็ต้องยอมรับว่า
ผู้ทรงสิทธิดังกล่าวนั้นส่วนหนึ่งได้แก่ประชาชน และประชาชนนี้เองจะเป็นผู้ตัดสินว่า ในรัฐ
ในประเทศใด สมควรมีสถาบันการเมืองหรือมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจรัฐอย่างไร
เพราะศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นคำตอบเดียว หรือตัวเลือกเดียวสำหรับการวางตำแหน่ง
องค์กรที่ทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ รวมทั้งก็ไม่ใช่ตัวเลือกแบบบังคับเลือกสำหรับประเทศที่เลือก
ใช้ระบบศาลคู่ด้วย เช่นกรณีของติมอร์ เลสเต ที่ได้รับเอกราชจากอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 2002
ที่มีระบบศาลคู่ ประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลภาษี ศาลบัญชี และศาลทหาร แต่ก็
เลือกที่จะให้อำนาจวินิจฉัยปัญหาทางรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของศาลฎีกาโดยไม่จำเป็นต้องไม่มี
15
“ศาลรัฐธรรมนูญ” หรือเช่นประเทศที่เคยเลือกใช้ระบบศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่ก็ยกเลิกที่จะ
มีศาลรัฐธรรมนูญไปให้ระบบศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาทางรัฐธรรมนูญแทน เช่นกรณีของ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 15 รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งติมอร์ เลสเต มาตรา 123 และ 126 ตัวบทภาษาอังกฤษ สืบค้น
จาก เวบไซต์ทำเนียบรัฐบาลแห่งติมอร์เลสเต : http://timor-leste.gov.tl/wp-content/uploads/2010/03/
Constitution_RDTL_ENG.pdf