Page 138 - kpi17073
P. 138

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   137


                      จะต้องถูกตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญ การตกลงใดๆ กับรัฐต่างประเทศหรือองค์กรระหว่าง
                      ประเทศก็อาจจะถูกตรวจสอบผ่านศาลรัฐธรรมนูญว่ามีอำนาจกระทำได้หรือไม่หรือจำเป็นต้องให้

                      รัฐสภาเห็นชอบ รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็อาจจะถูกตรวจสอบได้จากศาล
                      รัฐธรรมนูญ ในทางปฏิบัติจึงอาจเท่ากับว่า การใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติหรือในทางบริหารใดๆ
                      จะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญเสียก่อน


                            แม้แต่กลไกในการตรวจสอบถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ปรากฏว่า การใช้

                      ช่องทางผ่านการร้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้น เห็นผลเร็วและให้ผลได้จริงมากกว่า จากที่การ
                      อภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นมานั้น ไม่เคยทำให้นายกรัฐมนตรี
                      ต้องพ้นจากตำแหน่งได้จริง หรือกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่เคยเกิดขึ้น

                      แต่ในทางปฏิบัติกลับกลายเป็นว่า กระบวนการดำเนินคดีผ่านศาลรัฐธรรมนูญ สามารถทำให้
                      นายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่งไปได้แล้วถึงสามคน เป็นต้น


                            แต่ที่กล่าวเช่นนี้มิได้จะหมายความว่า บทบาทของรัฐธรรมนูญประการหลัง ที่สะท้อนผ่าน
                      คำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวนั้นจะมีปัญหาหรือเป็นจุดอ่อนของศาลรัฐธรรมนูญก็หาไม่ เพราะแม้จะมี

                      คำวินิจฉัยส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง และคำวินิจฉัยบาง
                      คำวินิจฉัยนั้นจะมีปัญหาหรือมีข้ออ่อนให้โจมตีได้บ้างก็จริง แต่ก็ต้องยอมรับว่า คำวินิจฉัยบางส่วน

                      ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์นั้น ก็ใช่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง ไม่สมเหตุสมผล หรือไม่มีเหตุผล
                      ทางวิชาการรับรองเสียทั้งหมดไม่ หากพิจารณาในบางแง่มุมคำวินิจฉัยดังกล่าวเหล่านั้น อาจจะ
                      “สมเหตุสมผลในมุมมองหนึ่ง” ก็ได้


                            ใคร่ขอยกตัวอย่างคำวินิจฉัยเรื่องหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แม้ว่า

                      จะเป็นคำวินิจฉัยที่ค่อนข้างสมเหตุสมผลและน่ารับฟัง ได้แก่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12-13/
                      2551 หรือคดี “ชิมไปบ่นไป” ที่วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของอดีตนายกสมัคร สุนทรเวช นั้น
                      สิ้นสุดลงเนื่องจากถือว่าเป็นลูกจ้าง ที่อันที่จริงแล้วคำวินิจฉัยนี้ มีเหตุผลที่น่ารับฟังได้ และค่อน

                      ข้างเป็นระบบ เพียงแต่ท่อนการวินิจฉัยส่วนหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญไปยกเอานิยามคำว่า “ลูกจ้าง”
                      ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มาช่วยใช้ตีความถ้อยคำ ทำให้ศาล

                      รัฐธรรมนูญถูกครหาว่าใช้พจนานุกรมเป็นหลักในการวินิจฉัย แต่ถ้าพิจารณาตลอดทั้งคำวินิจฉัย
                      ก็จะเห็นว่าเหตุผลอันแท้จริงของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมุ่งพิจารณาไปที่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
                      ที่มีไว้เพื่อป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการอาศัยช่องว่างทางกฎหมายในการเข้ารับ

                      ค่าตอบแทนจากบุคคลภายนอก โดยวิธีการแปลงสัญญาจ้างแรงงาน มาเป็นการจ้างทำของเพื่อ
                      หลบเลี่ยงและรับประโยชน์จากการทำงานให้บุคคลอื่น เหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า

                      การเป็น “ลูกจ้าง” ตามรัฐธรรมนูญนั้นจะถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้ ก็เพราะ
                      นิยามของกฎหมายแต่ละฉบับนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ต้องตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ “ข้ามระบบ”
                      กันอย่างกฎหมายแพ่งที่เป็นกฎหมายเอกชน กับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่เป็นกฎหมายด้วย

                      ที่กฎหมายแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นจะต้องแยก “ลูกจ้าง” ตามกฎหมาย
                      จ้างแรงงาน ออกจาก “ผู้รับจ้าง” ตามกฎหมายจ้างทำของออกจากกันนั้น เป็นเหตุผลเพราะ                     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

                      นิติสัมพันธ์ทางแพ่งเพื่อแยกหน้าที่และความรับผิดของสัญญาสองแบบนี้ออกจากกัน ในขณะที่
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143