Page 133 - kpi17073
P. 133
132 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
จะโดยการต่อสู้ในศาลใดๆ ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีของตนนั้นขัดหรือแย้งต่อ
รัฐธรรมนูญ รวมถึงการเสนอเรื่องเพื่อให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญคือผู้ตรวจการแผ่นดินและ
กรรมการสิทธิมนุษยชนส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และการใช้สิทธิโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญอันไม่
อาจใช้สิทธิในทางอื่นได้แล้ว
ในระยะแรกแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 นั้น ไม่ค่อย
มีปัญหาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมากนัก ประการหนึ่งเนื่องจาก
คำร้องขอให้ตรวจสอบว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ที่ร้องมาในช่วง
1
ก่อนหน้านั้น เป็นคำร้องที่มีลักษณะหวังผลในทางประวิงคดีเสียเป็นส่วนมาก ประกอบกับ
ศาลรัฐธรรมนูญในยุคแรกนั้นมีแนวความคิดในทางอนุรักษ์นิยมมากกว่าเสรีนิยม แต่กระนั้นก็ไม่
ได้ถือว่าปัญหาอะไร เพราะเป็นการสร้างเสถียรภาพให้ระบอบการเมืองตามรัฐธรรมนูญในช่วง
2
หัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ได้อย่างน่าพอใจ อย่างไร
ก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2540 นั้น ก็ได้มีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเพราะละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอยู่ด้วยเช่นกัน ที่น่าสนใจ
ได้แก่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 21/2546 ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับรองเรื่องความเสมอภาคของ
ชายหญิงในการเลือกใช้นามสกุล โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า บทบัญญัติมาตรา 12 ของ
พระราชบัญญัติชื่อบุคคลดังกล่าว มีลักษณะเป็นบทบังคับให้หญิงมีสามีต้องใช้ชื่อสกุลของสามี
เท่านั้น อันเป็นการลิดรอนสิทธิในการใช้ชื่อสกุลของหญิงมีสามี ขัดต่อหลักความเสมอภาค
3
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 25/2547 วินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 24
และมาตรา 26 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเนื่องบทบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้แป้งข้าวหมักนั้น
ถือเป็นเชื้อสุราที่ต้องถูกควบคุมการทำหรือขายด้วย ซึ่งเป็นการขัดต่อเสรีภาพในการประกอบ
อาชีพในการประกอบกิจการโดยเสรีและเป็นธรรมเกินสมควร และเป็นบทบัญญัติที่บัญญัติขึ้น
เกินความจำเป็นและกระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัย
4
ศาลรัฐธรรมนูญที่ 30/2548 กรณีร่างพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. .... มาตรา 38
วรรคหนึ่ง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากบัญญัติให้ศาลมีคําสั่งริบเครื่องจักรที่กระทำผิด
ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยไม่เปิดโอกาสให้ศาลได้ใช้ดุลยพินิจว่าจะริบเครื่องจักรหรือไม่
และไม่คำนึงว่าเจ้าของจะรู้เห็นต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งขัดต่อ
1 สมคิด เลิศไพทูรย์ และกล้า สมุทวณิช (2546). การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยศาลรัฐธรรมนูญ.
(กรุงเทพฯ : ศูนย์การศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). หน้า 142 และหน้า 173
2 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (2546). ศาลรัฐธรรมนูญกับบทบาทที่คาดหวังในการปฏิรูปการเมือง. ศาลรัฐธรรมนูญ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 ตอนที่ 17 ก วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557
กับการพัฒนาประชาธิปไตยในระบบนิติรัฐ. (กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ). หน้า 67 – 68
3
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 21/2546 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121
4
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 25/2547 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2547 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121
ตอนที่ 63 ก วันที่ 25 มิถุนายน 2547