Page 129 - kpi17073
P. 129
128 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
วิกฤตของระบบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Crisis) คือสภาวะที่สถาบันการเมืองมีการทำหน้าที่
ที่เกิดการขัดแย้งกันระหว่างการใช้อำนาจหรือการทำหน้าที่ของสถาบันการเมือง ซึ่งบางคนมองว่า
เป็นธรรมชาติ แต่ในเชิงหลักการมันมีลักษณะของสถาบันการเมือง มีลักษณะของการทำหน้าที่
ที่มีการเข้าไปแทรกแซงจนเข้าไปกระทบอำนาจหลักที่รัฐธรรมนูญวางเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่น
องค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ทำหน้าที่ของตนเองแล้วทำให้รัฐสภาไม่สามารถทำตามตัวบทกฎหมายได้
หรือมีลักษณะขององค์กรใช้อำนาจไปแล้วทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้อำนาจบริหารแผ่นดินได้ นี่คือ
ความเป็นระบบวิกฤตของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นลักษณะการวางดุลอำนาจที่มีปัญหา ในเชิงวิชาการ
มองว่า ระบบวิกฤตรัฐธรรมนูญมีปัจจัยที่ถือกำเนิดมาจาก 3 ปัจจัย สภาวการณ์แรก เรียกว่าเป็น
ปัจจัยที่เกิดมาจากการร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดมาจากการวางดุลอำนาจที่ผิดพลาด หมายถึงว่าเราวาง
อำนาจที่ไม่ได้ดุลมาตั้งแต่ต้น ส่งผลให้การทำหน้าที่ที่ของสถาบันการเมืองที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
เกิดความขัดแย้งกัน ซึ่งในภาษิตของนักกฎหมายก็จะบอกว่า คุณต้องการให้ประเทศเป็นเช่นไร
ก็ออกแบบรัฐธรรมนูญให้เป็นเช่นนั้น ตรงนี้จะสะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่างว่า การเห็นปัญหาที่
เกิดขึ้นมาจากการที่เราวางอำนาจนั้นอย่างไม่ได้ดุล สาเหตุอย่างที่สองเกิดมาจากตัวสถาบันที่เกิด
มาจากตัวรัฐธรรมนูญนั้นเอง ที่ทำหน้าที่ที่มีลักษณะเกินขอบเขตที่ผู้ยกร่างวางไว้ ซึ่งตาม
ธรรมชาติของรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายชนิดพิเศษที่เรื่องของการตีความไม่ได้รวมศูนย์อยู่ที่
องค์ตุลาการเพียงองค์กรเดียว แต่เป็นการกระจายอำนาจการตีความคือรัฐสภา ครม. และศาลเอง
ก็มีอำนาจในการตีความ ส่งผลให้ต่างฝ่ายต่างตีความของตนเองจึงทำให้เกิดสภาวะวิกฤต
รัฐธรรมนูญและสุดท้าย ปัจจัยที่เกิดจากกการผสมผสานของสองปัจจัยแรกคือ การวางดุลยภาพ
ที่มีปัญหาและจากการทำหน้าที่ของสถาบันการเมืองเอง คำถามคือประเทศไทยที่ผ่านมาเราเกิด
สภาวะนี้มาจากอะไร คำตอบก็คือปัจจัยที่สาม ในเรื่องของการยกร่างหรือการวางดุลยภาพ
หากเราวางดุลยภาพไว้ดีแล้ว เราคงไม่มีการประชุมในวันนี้ สองคือ การทำหน้าที่ของสถาบัน
การเมือง เหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เห็นว่าปัจจัยในการวิกฤตครั้งนี้เกิดจากสองปัจจัยผสมกันนั่นคือ
ปัจจัยของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 และพยายามจัดตั้งเป็น ส.ส.ร. จะทำการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และมีลักษณะของการยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาตรวจสอบ
ก็จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญ 50 เองไม่ได้พูดในเรื่องการวางดุลอำนาจในการให้ศาลรัฐธรรมนูญ
เข้ามาตรวจสอบแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ถ้ามองในจุดบกพร่องจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญปี 50
ไม่ได้มีการออกแบบองค์กรให้ไปตรวจสอบฝ่ายรัฐสภา รัฐธรรมนูญอาจจะมีการยกร่างและกำหนด
ให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปตรวจสอบแก้ไขเพิ่มเติมรัฐสภา นี่คือมิติแรกที่แสดงให้เห็นว่าเรามีการ
วางดุลอำนาจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนทำให้มีการโต้เถียงกันในมาตรา 68 ในตอนนั้นและให้มีการ
ตีความในอัยการก่อนหรือว่าสามารถส่งตรงไปที่ศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ซึ่งเกิดมาจากความ
กำกวมของการร่างรัฐธรรมนูญด้วยทำให้เกิดความขัดแย้งกันของสถาบันการเมือง ชนวนความ
ขัดแย้งส่วนหนึ่งของครั้งที่แล้วเกิดมาจากฝ่ายนิติบัญญัติเกิดการเผชิญหน้ากับฝ่ายตุลาการ ถ้ามอง
เช่นนี้จะเกิดสภาวะวิกฤตของรัฐธรรมนูญ (Constitutional Crisis) ในเบื้องต้นจะขอสรุปแบบนี้
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1