Page 126 - kpi17073
P. 126

การสร้างดุลยภาพในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ


                            ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย*












                                  ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสถาบันพระปกเกล้าที่ได้ดำเนินการจัดการประชุม

                            วิชาการในวันนี้ และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นหนึ่งในวิทยากรด้วย ก่อนที่จะ
                            ลงไปรายละเอียดในหัวข้อในวันนี้ ขอทำความเข้าใจในบางประเด็น เพื่อตอนที่ผม

                            จะลงในเชิงรายละเอียดปลีกย่อยในการพูดถึงดุลยภาพของโครงสร้างการใช้
                            อำนาจรัฐ จะได้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ประเด็นแรกที่ตั้งข้อสังเกตเพื่อที่
                            ทุกท่านจะได้เข้าใจอะไรที่ง่ายขึ้น ในหัวข้อเราตั้งในเรื่องของการวางหรือการสร้าง

                            ดุลยภาพของโครงสร้างการใช้อำนาจรัฐ เมื่อเราพูดถึงอำนาจรัฐ ประเด็นแรก
                            ที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือ ตัวรัฐธรรมนูญ ถามว่าทำไมเราต้องเข้าไปพิจารณา

                            ในเรื่องของตัวรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหรือเป็นกฎเกณฑ์
                            ที่เข้าไปพูดถึงการใช้อำนาจรัฐโดยตรงและเป็นหลักกติกาขั้นพื้นฐาน ฉะนั้น
                            หัวข้อที่เราพูดในวันนี้จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเข้าไปพูดและวิเคราะห์ในเรื่อง

                            ของรัฐธรรมนูญก็ดี หลักการที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญก็ดี หลักการ
                            ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างและการร่างก็ดี ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยก็กำลัง

                            ดำเนินการที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็เพิ่งได้กรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ
                            ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาตรา 32 ซึ่งวันนี้เราก็ได้รับเกียรติจากอาจารย์
                            นครินทร์ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย วันนี้ก็จะได้ขอ

                            ความรู้จากท่านด้วย เมื่อเราพูดถึงตัวอำนาจรัฐกับตัวรัฐธรรมนูญแล้ว ในเชิงของ
                            หลักการ ในเชิงของรัฐธรรมนูญเวลาที่เรายกร่างรัฐธรรมนูญ จะมีหลักการ

                            ที่เรียกว่า “Principle of Constitutional Design” แปลเป็นภาษาไทยก็คือ
                            “หลักการในการออกแบบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งคงจะพูดอยู่ในราวๆ สองมิติด้วยกัน
                            มิติแรกจะเข้าไปพูดในเรื่องของกระบวนการในการยกร่างรัฐธรรมนูญ

                            (Procedural Aspects) คือมิติในเชิงกระบวนการของการยกร่างรัฐธรรมนูญ
                            ในเชิงหลักการการพูดถึงเชิงมิติตรงนี้จะเข้าไปพูดถึงตั้งแต่ใครจะเป็นผู้เข้ามา




                              *  อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131