Page 122 - kpi17073
P. 122

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   121


                              “ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง                     คงจะต้องบังคับขับไส
                            เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป                     ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย

                            เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ                     จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย
                            ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย             ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา”


                            อย่างไรก็ดี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24
                      มิถุนายน 2475 ประเทศสยามก็มิได้เปลี่ยนระบอบประมุขของรัฐมาเป็นประธานาธิบดีและ

                      เปลี่ยนประเทศมาเป็นสาธารณรัฐแต่อย่างใดทั้งที่สามารถจะกระทำได้เนื่องจากในระยะเวลานั้น
                      คณะราษฎรมีอำนาจทางการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดสมบูรณ์ (absolute power) ก็ตาม แต่
                      คณะราษฎรก็ยังยืนยันอย่างแน่วแน่ว่าประเทศสยามจะต้องมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มี

                      พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมทั้งได้กราบบังคมทูลเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า-
                      เจ้าอยู่หัวให้ทรงครองราชย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศสยามภายใต้รัฐธรรมนูญต่อไป เพราะ

                      คณะราษฎรได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติ
                      เป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี เมื่อพระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อ
                      วันที่ 2 มีนาคม 2477 ซึ่งพระองค์มิได้ทรงตั้งองค์รัชทายาทไว้ คณะรัฐมนตรีซึ่งมีคณะราษฎร

                      หนุนหลังอยู่ก็ไม่ลังเลที่เปลี่ยนแปลงระบบการเมืองของสยามเป็นสาธารณรัฐแต่อย่างใด คณะ
                      รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานัน-

                      ทมหิดล (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ทันทีทันใด ทั้งนี้
                      เนื่องจากวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลทรงเป็นเจ้านายลำดับที่ 1 ในบัญชีลำดับสืบราช
                      สันตติวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467  ดังข้อความ
                                                                                                   19
                      ตอนหนึ่งในการอภิปรายถึงคุณสมบัติของพระมหากษัตริย์ไว้ ความว่า


                            “สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเลือกเจ้านายพระองค์ใดก็ได้หากเจ้านายพระองค์นั้นทรงมี
                      คุณสมบัติดังนี้ (1) ทรงเลื่อมใสในระบอบรัฐธรรมนูญ (2) ทรงเป็นผู้มีวิทยาคุณ รอบรู้
                      ประวัติศาสตร์ในการปกครองมนุษยชาติ (3) ทรงมีความรู้ในวิชาทหารบกหรือทหารเรืออย่าง

                      น้อยในตำแหน่งชั้นสัญญาบัตร (4) ทรงมีพระอุปนิสัยรักใคร่ราษฎรและเป็นที่นิยมนับถือของ
                      ประชาชนทั่วไป (5) ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ... ในข้อ 4 เป็นประการสำคัญที่สุดในความวัฒนา

                      ถาวรของชาติและความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์ พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นผู้เห็นความทุกข์
                      ยากของราษฎร และทรงเผื่อแผ่อารีรักในปวงประชาชาติ หากพระองค์ไร้คุณสมบัติดังกล่าวแล้ว
                      พงศาวดารของเราจะบอกให้รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในภายหน้า ... ความจงรักภักดีระหว่างพระมหา

                      กษัตริย์กับราษฎรจะต้องกลมกลืนสัมพันธ์ดุจลูกโซ่” 20






                         19   สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร,  ครั้งที่ 33/2477 สมัยที่ 2 (ประชุมวิสามัญ) วันที่
                      6-7 มีนาคม พ.ศ. 2477 รัฐบาลเสนอเป็นญัตติด่วนและขอให้สภาผู้แทนราษฎรประชุมลับ เรื่องพระบาทสมเด็จ
                      พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละพระราชสมัติและการเลือกตั้งพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่, กรุงเทพมหานคร : สภา
                      ผู้แทนราษฎร, 2477, หน้า 2364.                                                                      การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

                         20   เพิ่งอ้าง, หน้า 2336-2338.
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127