Page 119 - kpi17073
P. 119

118     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                                16
                  ไว้ได้อย่างมั่นคง  พระราชกุศโลบายที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการส่งพระราชโอรสและปัญญาชน
                  สยามจำนวนมากไปศึกษาวิชาการในประเทศยุโรป ทั้งวิชาการด้านการทหาร การศึกษา วิศวกรรม

                  การเดินเรือ วิทยาศาสตร์ ศิลปกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคม การสื่อสาร
                                 17
                  การแพทย์ ฯลฯ  พระราชกรณียกิจอันมีคุณค่าของพระองค์ได้ส่งผลดีต่อการรักษาเอกราชของ
                  ประเทศเอาไว้ได้เป็นอย่างดียิ่งอันหาที่เปรียบมิได้


                       ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชาชนชาวสยามมีการตื่นตัว

                  ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยบ้างแล้ว อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาของชาติ
                  อย่างกว้างขวางทั่วสยามประเทศของพระองค์ จึงเกิดมีสามัญชนจำนวนหนึ่งเรียกร้องการปกครอง
                  ระบอบประชาธิปไตย เช่น เทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส. วัณณาโภ และ ก.ศ.ส. วัณณาโภ กุหลาบ

                  เป็นต้น โดยเฉพาะเทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส. วัณณาโภ ได้เสนอแนวคิดการปกครองแบบรัฐสภา
                  ต่อมาก็เกิดมี “พวกก้าวหน้า” (the progressives) และ “พวกปฏิกิริยา” (the reactionists)

                  เกิดขึ้นอย่างลับ ๆ อีกหลายกลุ่ม โดยสมาชิกกลุ่มปฏิกิริยาส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางความคิดมา
                  จากหมอสอนศาสนาอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสเตียนในกรุงสยามในขณะนั้น อาทิ
                  หมอบรัดเลย์ (Dr. Bradley) หมอสมิธ (Dr. Smith) เป็นอาทิ ในห้วงเวลาเดียวกันก็เกิดกลุ่ม

                  การเมืองซึ่งเรียกตัวเองว่า “กลุ่ม ร.ศ. 103” ที่มีแนวคิดในการนำเอาการปกครองระบอบรัฐสภา
                  แบบอังกฤษมาใช้กับสยามประเทศ “กลุ่ม ร.ศ. 103” ได้กราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จ

                  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองประเทศสยามรวม 7 ประการได้แก่

                         1. เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครอง

                           ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ


                        2. การปกครองประเทศสยามให้อยู่ภายใต้การตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี


                        3. ป้องกันมิให้เกิดคอรัปชั่นและให้ข้าราชการมีเงินเดือนอย่างเพียงพอ

                        4. มีกฎหมายประกันความยุติธรรมแก่ราษฎรให้เสมอภาคกัน การเก็บภาษีต้องมีความ

                           ยุติธรรมไม่ว่าต่อคนสยามหรือคนต่างชาติ


                        5. แก้ไขเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียม กฎหมายที่ขัดขวางความเจริญ

                        6. ให้มีเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกทางความคิด


                        7. มีการจัดระบบราชการด้านการบริหารงานบุคคล มีการกำหนดคุณสมบัติและเลือก

                           บุคคลผู้มีความรู้ความประพฤติดีเข้ารับราชการ


        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1     ประวัติศาสตร์ประพาสยุโรปครั้งแรก ปี พ.ศ. 2440 อันเป็นคุณูปการยิ่งแก่แผ่นดินไทย (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
                    16
                        รายละเอียดโปรดดู พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ), จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. 116 : บันทึก

                  แสวดาว, 2553)


                     17
                        เรื่องเดียวกัน
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124