Page 114 - kpi17073
P. 114
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 113
4. ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระมหากษัตริย์มีการปรับตัว
ให้ใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ทรงประกาศทัศนะของพระองค์ว่าพระองค์ทรงเป็น
มนุษย์ ไม่ใช่อภิมนุษย์ และมิใช่เทพ ดังที่ชัยอนันต์ สมุทวนิช ได้แสดงปาฐกถาไว้
ตอนหนึ่งว่า
“... ในฐานะที่ (พระมหากษัตริย์) ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่อภิมนุษย์ตามคติสมมุติเทวราช
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงตระหนักดีว่าพระมหากษัตริย์ก็คือมนุษย์ มิใช่เทพ ดังนั้น
ความเป็นมนุษย์ของพระมหากษัตริย์ต้องตกอยู่ในธรรมชาติเช่นเดียวกับคนทั่วไป คือสามารถตก
อยู่ในสภาวะของความดีก็ได้และความไม่ดีก็ได้...” 8
สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา ให้ความเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับ
9
ข้อบกพร่องของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่
หลายในกลุ่มประชาชนที่เป็นปัญญาชนรุ่นใหม่ ทรงเข้าพระทัยการปกครองระบอบประชาธิปไตย
แบบอังกฤษเป็นอย่างดี เนื่องจากพระองค์ทรงได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาเป็นระยะ
เวลายาวนานและทรงเข้าพระทัยในการปกครองระบอบประชาธิปไตยดียิ่ง ดังความตอนหนึ่งที่ทรง
มีพระราชวิจารณ์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ความว่า
“... แต่ความคิดที่ถือกันมาว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเอนกนิกรสโมสรสมมุติ นั้นแท้จริง
เป็นเพียงยึดถือกันทางทฤษฎีเท่านั้น โดยความเป็นจริงพระเจ้าแผ่นดินของประเทศสยามเสด็จขึ้น
ครองราชสมบัติโดยการสืบสันตติวงศ์ ด้วยเหตุนี้จึงไม่แน่นอนเลยว่าเราจะมีพระเจ้าแผ่นดินที่ดี
เสมอไป...” 10
5. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงให้ความสำคัญกับพระราชพิธี
พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นอย่างมาก เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่
เกษตรกรของชาติที่มีจำนวนชาวไทยที่ประกอบอาชีพเกษตรกรมากกว่าร้อยละ 76
และได้ชื่อว่าเป็น “กระดูกสันหลัง” ของชาติข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนาเป็นข้าว
พันธุ์ดีที่โปรดให้ปลูกในพระราชวังสวนจิตรลดาและข้าวเปลือกอีกส่วนหนึ่งที่เหลือก็จะ
บรรจุซองแล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่างๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและ
สิริมงคลแก่พืชผลที่เกษตรกรจะเพาะปลูกในปีนั้น โดยพระราชพิธีพืชมงคลนี้ พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้เพิ่มขึ้นเป็นพิธีสงฆ์คู่กับพระราชพิธีจรด
8 ชัยอนันต์ สมุทวนิช, พระปกเกล้าในฐานะที่ทรงเป็นมนุษย์ผู้หนึ่ง” สถาบันไทยศึกษาและฝ่ายวิจัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการเนื่องในวโรกาส 100 ปี พระราชสมภพพระบาท
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง สังคมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, วันที่ 7-9 กุมภาพันธ์
2537 ณ ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 3.
9 สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา, “พระราชวิจารณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” สถาบันไทยศึกษาและ
ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการเนื่องในวโรกาส 100 ปีพระราชสมภพ
พระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง สังคมไทยในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, วันที่ 7-9
กุมภาพันธ์ 2537 ณ ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 3. การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
10 เพิ่งอ้าง