Page 110 - kpi17073
P. 110

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   109


                      สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้
                      รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ก็ตามสถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็น “ส่วนควบ”

                      (component) ของรัฐไทยมาโดยตลอดอันจะแยกออกจากรัฐไทยมิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
                      รักษาเอกราชของชาติให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก
                      ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจตะวันตกทั้งสิ้น

                      แม้ว่าต่อมาภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์แห่ง
                      ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ล้วนสร้างคุณประโยชน์อันเป็นคุณูปการให้กับประเทศและประชาชน

                      ชาวไทยอย่างต่อเนื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีความเหมาะสมสอดคล้องกับการสร้าง
                      ดุลยภาพแห่งอำนาจในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐไทย ทั้งนี้ก็เพราะปัจจัยของระบบการเมืองของรัฐ
                      ไทยมีความเหมาะสมที่จะธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสร้างและรักษาดุลยภาพแห่ง

                      อำนาจในระบบโครงสรน้างอำนาจรัฐไทยป็นอย่างยิ่ง


                            กล่าวได้ว่าตั้งแต่การก่อตั้งรัฐไทยมาถึงประเทศไทยในปัจจุบัน ระบบการเมืองไทยมีส่วน
                      ประกอบ (component) อันเป็นปัจจัยสำคัญ (essential factor) ของความเป็นรัฐชาติไทย (Thai
                      nation-state) ในปัจจุบันประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการดังต่อไปนี้


                            1. พระมหากษัตริย์ (The monarch)


                            2. กองทัพ (The army)


                            3. พุทธศาสนา (Buddhism)


                            4. ประชาชน (The people)


                            สำหรับระบบการเมืองไทย ทั้ง 4 ปัจจัยประการมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันมาโดยตลอด
                      ทำให้รัฐไทยดำรงความเป็นเอกราชมาได้ตลอด ก่อให้เกิดความมั่นคงแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                      สถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน กล่าวคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ผูกพันกันอย่างมั่นคงมา

                      ตั้งแต่ก่อตั้งรัฐไทยเมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ทั้งนี้เป็นไปตามทฤษฎีและแนวคิดว่าด้วยการแลก
                      เปลี่ยนและพึ่งพา (theories and concepts on exchange and interdependency) ทาง

                      สังคมวิทยาที่เกิดจากการผสมผสานแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา และจิตวิทยา
                      โดยเน้นความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายในการตอบสนองความต้องการหรือผลประโยชน์ซึ่งกัน
                      และกัน  เมื่อพสกนิกรผู้เป็นเสมือน “ลูก” ของพระองค์มีความเดือดร้อนพระมหากษัตริย์ก็จะทรง
                             1
                      เข้ามาช่วยเหลือด้วยความเอื้ออาทรในฐานะ “พ่อ” ของประชาชน และประชาชนผู้เป็นพสกนิกร
                      ก็ถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์ในฐานะ “พ่อ” จึงเป็นเสมือน “ธรรมราชา” ดังข้อความ

                      ตอนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์
                      The New York Times เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2474 ความว่า     2


                          1   โปรดดู ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ และคณะ, รายงานวิจัยโครงการวิจัยเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย,
                      เสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า, สิงหาคม 2557”                                                             การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

                          2   Harold N. Denny, New York Times, Tuesday, April 28, 1931.
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115