Page 112 - kpi17073
P. 112

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   111


                      พระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                      ทรงสะท้อนบรรยากาศในวันนั้นอย่างชัดเจนว่า


                            “... ตามถนนผู้คนช่างมากมายเสียจริงๆ ที่ถนนราชดำเนินกลางราษฎรเข้ามาใกล้จนชิด
                      รถที่เรานั่ง กลัวเหลือเกินว่าล้อรถของเราจะไปทับแข้งทับขาใครเข้าบ้าง รถแล่นฝ่าฝูงชนไปได้

                      อย่างช้าที่สุด ถึงวัดเบญจมบพิตรรถแล่นเร็วขึ้นได้บ้าง ตามทางที่ผ่านมาได้ยินเสียงใครคนหนึ่ง
                      ร้องขึ้นมาดังๆ ว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชนไม่ “ทิ้ง”

                      ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ลละทิ้ง” อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว...” 4

                            นอกจากพระมหากษัตริย์กับประชาชนแล้ว สถาบันพุทธศาสนาและกองทัพมีความผูกพันซึ่ง

                      กันและกันและกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแนบแน่นด้วย ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีและแนวคิดว่า
                      ด้วยการแลกเปลี่ยนและพึ่งพาในสังคมไทยมายาวนานดังจะเห็นได้จากกรณีที่ปรากฏใน

                      ประวัติศาสตร์ไทยหลายกรณีดังต่อไปนี้

                             1. กรณีสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้วขอพระราชทานงดโทษประหารแก่เหล่าทหารที่ตาม

                                เสด็จในการรบไม่ทัน ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรได้พระราชทานอภัยโทษ และให้ไถ่โทษโดย
                                การนำทัพไปตีเมืองทะวาย ปะริด และตะนาวศรี อันแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาระหว่าง

                                สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันกองทัพ สถาบันพุทธศาสนา และประชาชนอย่างผสม
                                กลมกลืน


                             2. กรณีเมื่อประชาชนประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติดังกรณีอุทกภัยใน พ.ศ.2554
                                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชทานความช่วยเหลือต่างๆ

                                ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นอย่างมาก ในการนี้กองทัพก็ได้สนองพระบรม
                                ราชโองการด้วยการระดมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ต่างๆ ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบ

                                ความทุกข์ยาก

                             3. กองทัพได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้รับผิดชอบ

                                ปฏิบัติในโครงการอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน
                                โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคงขึ้น ทั้งนี้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของ
                                ประชาชน


                             4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ

                                ไทย ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก ดังจะเห็นได้จากพระมหากษัตริย์ทรง
                                ปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ เกี่ยวกับศาสนา อาทิ เสด็จในพระราชพิธีทางศาสนาใน

                                วันสำคัญทางพุทธศาสนา เสด็จพระราชดำเนินถวายพระกฐินหลวงด้วยพระองค์เองหรือ
                                ผู้แทนพระองค์


                          4   พระราชนิพนธ์บันทึกประจำวันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ้างใน สุเทพ เอี่ยมคง, “ในหลวงของ
                      ประชาชน”, บทความเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
                      80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2557 จาก http://library2.parliament.go.th/ebook/
                      content.ex/article02.html.
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117