Page 115 - kpi17073
P. 115

114     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                           พระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธรพราหมณ์ที่มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย พระราช
                           พิธีนี้เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชก่อนนำไปไถหว่านเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์

                           ธัญญาหาร เป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญแก่ชาวนาทั่วพระราชอาณาจักรโดยตรง       11

                       ทฤษฎีและแนวคิดว่าด้วยตัวแทน (theories and concepts on representation) ซึ่งเกิดขึ้น

                  จากอิทธิพลของพุทธศาสนาที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานจนถือว่ามี
                  อิทธิพลต่อคุณสมบัติของพระมหากษัตริย์ในลักษณะ “ธรรมราชา” ซึ่งอธิบายว่าพระมหากษัตริย์

                  ทรงเป็นตัวแทนของความดีงามทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน คติธรรมทางพุทธศาสนา
                  ที่บัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นตัวแทนของคุณความดีทั้งปวง เพื่อยังให้ประชาชนมีความสุขและ
                  มีชีวิตที่ดี ธรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงถือปฏิบัติที่สำคัญได้แก่ ทศพิธราชธรรม สังคหวัฒถุธรรม

                  จักรวรรดิธรรม วุฒิธรรม และพรหมวิหารธรรม เป็นอาทิ ดังที่พระมหาจันลี แห่งสังฆมณฑลของ
                  ประเทศสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว  ได้กล่าวถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยที่มี
                                                             12
                  คุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยอยู่รอดปลอดภัยจากภัย
                  พิบัติทั้งหลาย โดยเฉพาะการที่ประเทศไทยไม่ตกเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ดังเช่นประเทศ
                  สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาวทั้งที่เคยมีพระมหากษัตริย์มาก่อนเช่นเดียวกับประเทศไทย

                  พระมหาจันลีได้สะท้อนให้เห็นคุณลักษณะของพระมหากษัตริย์ไทยไว้ 3 ประการ ได้แก่


                         1. ลักษณะชาติ (national Character) กล่าวคือ การที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงปฏิบัติ
                           พระองค์ในการรักษาบ้านเมือง การปกป้องอริราชศัตรู การสร้างความรักสามัคคี
                           การส่งเสริมให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าทุกวิถีทาง ทรงมองข้ามประโยชน์ส่วน

                           พระองค์เพื่อส่วนรวม ทรงเป็นผู้นำชาติให้ได้รับการยกย่องในเกียรติยศชื่อเสียงใน
                           ประชาคมนานาชาติ


                        2. ลักษณะมหาชน (public character) กล่าวคือทรงมีความใกล้ชิดกับพสกนิกร
                           ทรงโปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าตามโอกาสต่างๆ อยู่เป็นประจำ เมื่อราษฎรมีความเดือดร้อน

                           ก็จะทรงหาทางแก้ปัญหาให้ราษฎรอย่างเต็มที่ ทรงสดับตรับฟังความทุกข์และความ
                           เดือดร้อนต่างๆ ของราษฎรอย่างใกล้ชิด ทรงเสนอแนะโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการ

                           พัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ทรงบริจาคเงินส่วนพระองค์เป็นทุนในการพัฒนาต่างๆ
                           เพื่อให้ราษฎรมีชีวิตที่ดี


                        3. ลักษณะต่อสู้ (fighting character) กล่าวคือเมื่อเกิดปัญหาจากความไม่สงบทาง
                           การเมืองโดยเฉพาะจากสถานการณ์คอมมิวนิสต์ที่มีเจ้าหน้าที่พลเรือน ตำรวจ และ

                           ทหารบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก พระองค์จะทรงเสด็จไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บอยู่

                       12    คณะกรรมการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี, เพิ่งอ้าง, หน้า 123.
                     11
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   รักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ในช่วงเกิดวิกฤติการณ์สงครามเย็นและการแทรกซึมบ่อนทำลายของขบวนการ
                       ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคงของชาติ จัดโดกองอำนวยการ

                  คอมมิวนิสต์ทั้งภายในและภานนอกประเทศ โดย กอ.รมน. ได้นิมนต์พระมหาจันลี แห่งประเทศสาธารณรัญ

                  ประชาธิปไตยประชาชนลาวมาแสดงปาฐกถาพิเศษว่าเพราะเหตุใดจึงสิ้นสุดพระราชอาณาจักรลาวให้แก่ฝ่าย
                  คอมมิวนิสต์ กอ. รมน. จัดสัมมนาในเดือนสิงหาคม 2517.
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120