Page 117 - kpi17073
P. 117
116 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่อยู่ควบคู่กับรัฐไทยและสังคมไทยมาตั้งแต่การก่อตั้ง
รัฐไทยในสมัยพระราชอาณาจักรอ้ายลาวเมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว พระมหากษัตริย์
13
ทรงเป็นประมุขสูงสุดแห่งชาติ (supreme head of the Thai state) ทรงเป็นนักรบที่กล้าหาญ
(great warrior) และผู้บัญชาการทหารสูงสุด (supreme commander of the Thai state’s
armed forces) ของรัฐไทยที่ทรงนำทัพออกศึกสงครามนำหน้าขุนทหารเพื่อปกป้องรักษาเอกราช
ของรัฐไทยมาโดยตลอด แต่ในห้วงระยะเวลานั้นชนชาติไทยที่มีกำลังไพร่พลน้อยและต้องต่อสู้กับ
ศัตรูต่างชาติที่มีกำลังไพร่พลเหนือกว่ามากเพื่อปกป้องรัฐไทยอย่างสุดความสามารถมาโดยตลอด
โดยเฉพาะชนชาติมองโกลและจีนที่มีแสนยานุภาพกำลังพลมากกว่า ชนชาติไทยซึ่งมีกำลังพล
14
น้อยกว่าและไม่สามารถต่อสู้ได้แต่ไม่ยอมเป็นประเทศราชก็ได้ถอยร่นมาก่อตั้งพระราชอาณาจักร
น่านเจ้าในระยะเวลาต่อมา แต่ก็ถูกพวกมองโกลและจีนที่มีกำลังพลเหนือกว่าชนชาติไทยตามมา
รุกรานอีก ชนชาติไทยไม่สามารถต่อสู้ได้ พระมหากษัตริย์ไทยนำโดยพ่อขุนบางกลางท่าวหรือ
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงได้นำกองทัพและชนชาติไทยอพยพลงมาสร้างบ้านแปงเมืองก่อตั้ง
พระราชอาณาจักรสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1792 จนกระทั่งสิ้นสุดพระราชอาณาจักรสุโขทัยเมื่อ พ.ศ.
1981 พระราชอาณาจักรสุโขทัยมีพระมหากษัตริย์ปกครองรวม 9 พระองค์ การปกครองในสมัย
สุโขทัยเป็นการปกครองแบบ “พ่อปกครองลูก” (paternalism) โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะ
และบทบาทเป็นเสมือน “พ่อ” ของประชาชนซึ่งเป็นเสมือน “ลูก” ของพระองค์ ความสัมพันธ์
ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนจึงความสัมพันธ์แบบพ่อกับลูก โดยพระมหากษัตริย์จะทรง
ดูแลปกป้องคุ้มครองประชาชนให้อยู่ดีมีสุข มีความเอื้ออาทร ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงองค์พระมหา-
กษัตริย์โดยเฉพาะการร้องเรียนความทุกข์ร้อน ที่เรียกว่า “ตีกลองร้องฎีกา” ประชาชนมีความ
จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เป็นการตอบแทน ในช่วงระยะเวลานั้นพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์
ได้เผยแผ่เข้ามาในพระราชอาณาจักรสุโขทัย ในรัชกาลพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัยได้ทรงนำเอาหลัก
ธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน อาทิ ทศพิธราชธรรม พรหมวิหารธรรม
วุฒิธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม สังคหวัตถุธรรม เป็นต้น พระมหากษัตริย์จึงได้รับการยกย่องจาก
ประชาชนเป็น “พระมหาธรรมราชา” ของเขา
ถึงแม้ในปลายสมัยกรุงสุโขทัยและต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาชนชาติไทยจะได้รับอิทธิพลของ
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเข้ามาใช้ในระบบการเมืองการปกครองของชนชาติไทยก็ตาม ส่งผลทำให้
เกิดระบบการปกครองแบบ “เทวสมมุติ” (divine rule) ในสังคมไทย กล่าวคือพระมหากษัตริย์
เป็นเสมือน “พระเจ้า” และเป็น “นาย” ของประชาชนซึ่งเปรียบเสมือน “บ่าว” ก็ตาม แต่อิทธิพล
D.G.E. Hall, A History of South-East Asia (London: Macmillan, 1955; Phra Sarasas, My Country:
13
Thailand. First published in Japan in 1940. Bangkok Edition, 1950. และโปรดดู พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 เจ้าจุลจักรพงศ์, เจ้าชีวิต : พงศาวดาร 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ริ
เวอร์ บุ๊คส์ จำกัด, 2554).
14
รายละเอียดโปรดดู หอมรดกไทย, ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย. ผู้เขียนได้สืบค้นเมื่อวันที่ 10
กุมภาพันธ์ 2557 จาก http://heritage.mod.go.th/nation/history/hist.1.htm