Page 113 - kpi17073
P. 113

112     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                                         5
                       Roy และ Andrew  เสนอทฤษฎีและแนวคิดว่าด้วยการปรับตัว (theories and concepts
                  on adaptation) โดยอธิบายว่าบุคคลประกอบด้วยองค์ประกอบด้าน ชีว-จิต-สังคม (bio-psycho-

                  social) องค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กันเป็นหน่วยเดียวกันโดยกระบวนการปรับตัว
                  ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (input) ซึ่งได้แก่สิ่งเร้าหรือสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกริยาตอบสนองที่
                  ปรากฎออกมาเป็นพฤติกรรมของบุคคล (human behavior) กระบวนการเผชิญปัญหา(coping

                  process) และปัจจัยนำออก (output) อันได้แก่พฤติกรรมที่เกิดจากการปรับตัว โดยกระบวนการ
                  ปรับตัวของบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ เข้ามาในชีวิต และเมื่อ

                  บุคคลต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงจำเป็นต้องมีความรอบรู้
                  เพื่อเอาชนะอุปสรรคต่างๆ และต้องปรับตัวเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด (survival) การเจริญเติบโต
                  (growth) และการสืบทอดเผ่าพันธุ์ (reproduction) จากทฤษฎีและแนวคิดว่าด้วยการปรับตัวนี้

                  จะเห็นได้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
                  ตลอดมา รวมทั้งความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้นดังกรณีตัวอย่างบางเรื่องที่หยิบยกมาให้เห็น

                  ดังนี้

                         1. กรณีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงยกเลิกประเพณีบางอย่างที่เป็น

                           อุปสรรคกั้นความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน ทรงโปรดเกล้าให้ออก
                           ประกาศห้ามยิงกระสุนในทางเสด็จพระราชดำเนินซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติในสังคมไทย

                           มาแต่โบราณกาล เพราะเชื่อกันมาว่าราษฎรไม่สามารถเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์อย่าง
                           ใกล้ชิดได้เพราะเกรงว่าจะมีผู้ใดคิดประทุษร้ายต่อพระมหากษัตริย์ได้ง่าย “...แต่นี้สืบไป
                           เมื่อหน้า อย่าให้เจ้าพนักงานในเรือประตูหน้าประตูหลัง ในเรือตั้ง ในเรือพระที่นั่ง

                           เอากระสุนยิงเอาราษฎรต่อไป...” 6


                        2. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราษฎร
                           อย่างที่ไม่เคยปรากฎในพระราชประเพณีมาก่อน ทรงโปรดเกล้าให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่าง
                           ใกล้ชิดเท่าที่เวลาและโอกาสอำนวย หากราษฎรผู้ใดมีความประสงค์จะถวายความ

                           เคารพก็ให้แต่งโต๊ะเครื่องบูชาไว้หน้าบ้านและให้คอยเฝ้ารับเสด็จได้ “...โปรดให้มี
                           ประกาศให้ราษฎรเจ้าของบ้านเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเรือนออกมาคอยเฝ้ารับเสด็จถวาย

                           บังคมให้ทอดพระเนตรเห็น ถ้าทรงรู้จักจะได้ทรงทักทายปราศรัยบ้างตามสมควรให้ได้
                           ความยินดี...” 7


                        3. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้ยกเลิกประเพณี
                           การหมอบเฝ้าพระมหากษัตริย์



                       5 6   Roy and Andrew, The Roy’s Adaptation Model. Stanford : Appleton and Lange, 1999, p.p. 1-11.
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   พระราชดำเนิน ในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394-2400, พระนคร : องค์การค้าคุรุสภา, 2503,
                        โปรดดู องค์การค้าครุสภา. ประกาศยกเลิกการยิงกระสุนและอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จ

                  หน้า  282-283.

                     7
                        คณะกรรมการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี, พระมหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์กับประชาชน,
                  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, 2525, หน้า 56.
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118