Page 109 - kpi17073
P. 109

108     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  สามัญหรือสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) โดยที่สภาสามัญมีอำนาจสูงสุดเหนือ
                  อำนาจบริหาร ดังคำพังเพยของอังกฤษที่ว่า “สภาสามัญมีอำนาจสูงสุดที่สามารถออกกฎหมายได้

                  ทุกชนิดยกเว้นการออกกฎหมายให้ชายเป็นหญิงหรือหญิงเป็นชาย” (The House of Commons
                  has the supreme power over the nation and can enact any law to enforce every
                  person except to enact a law to change sex from male to female or female to male)

                  แต่เมื่อนำระบบการเมืองแบบอังกฤษมาใช้กับระบบการเมืองไทยกลับเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบ
                  การสร้างอำนาจที่เข้มแข็งให้กับอำนาจบริหาร (strong executive) มากกว่าอำนาจนิติบัญญัติ

                  จนกลายเป็นการทำให้อำนาจนิติบัญญัติเป็นเครื่องมือของอำนาจบริหารจนทำให้อำนาจนิติบัญญัติ
                  อ่อนแอ (weak legislative) ไม่สามารถเปทำหน้าที่เป็น “ตัวแทน” (agent) ของประชาชน
                  ที่เลือกผู้แทนราษฎรเข้ามาเป็นปากเสียงและรักษาผลประโยชน์ของประชาชนได้ตามหลักการ

                  ที่ควรจะเป็นตามแบบอย่างระบบการเมืองแบบรัฐสภาของอังกฤษ ถึงแม้ระบบพรรคการเมือง
                  ที่ลอกเลียนแบบ “ระบบการเมืองแบบพรรคการเมืองอังกฤษ” (British party politics system)

                  มาใช้แต่ก็ใช้ไม่ได้ผลสำหรับประเทศไทย เพราะพรรคการเมืองได้กลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง
                  (political tool) ของชนชั้นนำทางการเมือง (political elite) ในการสร้างความชอบธรรม
                  (legitimacy) ให้กับอำนาจของชนชั้นนำที่เข้าสู่อำนาจรัฐโดยอ้างชัยชนะในการเลือกตั้งมาเป็น

                  ความชอบธรรม การแข่งขันชิงชัยในการเข้าสู่อำนาจรัฐโดยพรรคการเมือง (party politics) ของ
                  ไทยจึงมีลักษณะของ “ทรัพย์สินส่วนบุคคล” (personal property) มากกว่าเป็น “พรรคการเมือง

                  แห่งปวงชน” (mass party) ดังเช่นระบบพรรคการเมืองของอังกฤษ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิด
                  การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง (political elite) ทำให้เกิดกลุ่ม
                  “นักธุรกิจการเมือง” (business politician) มากมาย มีการเล่นการเมืองนอกกติกา มีการโกง

                  การเลือกตั้ง การซื้อเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสร้างนโยบายการหาเสียงแบบประชานิยม
                  มีการ “ถอนทุน” ของพรรคการเมืองที่ได้อำนาจรัฐภายหลังชนะการเลือกตั้ง รวมทั้งการขาด

                  พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง (weak opposition) เป็นต้น ผลที่เกิดขึ้นก็คือความ
                  ไร้เสถียรภาพทางการเมือง (political instability) อันนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ
                  ในหลายกรณีเมื่อเกิดภัยพิบัติแห่งชาติ เช่น สถานการณ์คอมมิวนิสต์หลังสงครามเย็น (พ.ศ.

                  2488-2538) ในประเทศไทยที่สร้างความแตกแยกของคนในชาติและสร้างความเสียหายทาง
                  เศรษฐกิจและสังคมกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลในระบบรัฐสภาไม่สามารถแก้ปัญหาได้

                  อย่างมีประสิทธิภาพได้เนื่องจากรัฐบาลขาดเสถียรภาพและเกิดความแตกแยกของประชาชน
                  มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ในที่สุดกองทัพที่ได้รับการหล่อหลอมจิตสำนึกทางการเมืองในการป้องกัน
                  รักษาเอกราชมาตั้งแต่การก่อตั้งรัฐไทยมาตั้งแต่แรกเริ่มก็จะยึดอำนาจการปกครองของรัฐบาล

                  พลเรือนเพื่อปกป้องประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดความแตกแยกของประชาชนในชาติ


                       สำหรับประเทศไทย สถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทในการสร้างและรักษาดุลภาพของ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   ตลอดนับตั้งแต่ก่อตั้งรัฐไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันที่มีอายุยาวนานกว่า 3,000 ปีก็ตาม ทั้งนี้
                  อำนาจ (balance of power) ในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ (state power structure) มาโดย


                  ก็เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์มีความเหมาะสมกับสังคมไทยอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ยอมรับของ
                  ประชาชนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114