Page 107 - kpi17073
P. 107
106 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
การที่รัฐจะมีความเข้มแข็งและรักษาเอกราชของชาติไว้ได้อย่างมั่นคงเพียงใดและอย่างไรนั้น
ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยของการสร้างดุลยภาพในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ (factors on the balance
of power establishment in state power structure) เป็นสำคัญ เพราะจุดหมายปลายทางของ
ความเป็นรัฐ (ends of statehood) ก็คือเอกราชของรัฐ (sovereignty) ด้วยเหตุนี้เอกราชของรัฐ
หรือเอกราชของชาติจึงขึ้นอยู่กับความมั่นคงของชาติ (national security) อันเป็นปัจจัยหลัก
(basic factor) หรือปัจจัยรากฐาน (fundamental factor) ที่สำคัญยิ่งของความเป็นรัฐ ความ
มั่นคงแห่งชาติมีความหมายถึงความรู้สึกของประชาชนในความมั่นคงปลอดภัย (security and
safeguard), การมีชีวิตที่ดี (better life), ความภาคภูมิใจในความเป็นพลเมืองของรัฐ (pride of
citizenship) และมีความเชื่อมั่นในระบบการเมือง (confidence in state’s political system)
ในฐานะเป็นเจ้าของรัฐหรือประเทศ ไม่ว่ารัฐนั้นจะมีระบบการเมืองแบบใด อาทิ ระบบการเมือง
แบบเผด็จการอำนาจนิยม (authoritarianism dictatorship) ระบบการเมืองเผด็จการเบ็ดเสร็จ
(totalitarianism dictatorship) ระบบการเมืองประชาธิปไตย (democracy) เป็นต้น ดังนั้นความ
มั่นคงแห่งชาติจึงเป็นแก่นแห่งความสำคัญ (essence) ของความเป็นรัฐ เมื่อรัฐมีความมั่นคง
ก็ย่อมส่งดีต่อประชาชนตามมาในทุกด้าน เช่น เอกภาพแห่งชาติ (national unity), ผลประโยชน์
แห่งชาติ (national interest), ผลผลิตมวลรวมแห่งชาติ (gross national product), การเพิ่ม
รายได้ต่อหัว (increasing per capita income), ความสุขมวลรวมแห่งชาติ (gross national
happiness), การมีคุณภาพชีวิตที่ดี (better quality of life) เป็นอาทิ ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อประเทศ
ชาติในทุกด้านทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอีกด้วย
ดังนั้น ทุกรัฐจึงมีความใฝ่ฝันหรือความมุ่งมาดปรารถนา (aspiration) ที่จะสร้างความมั่นคง
แห่งรัฐของตนทั้งสิ้น แต่ระบบการเมืองและโครงสร้างอำนาจรัฐของแต่ละรัฐอาจมีความแตกต่าง
กันได้ กล่าวคือ การดำรงความเป็นรัฐที่มีความมั่นคงจะมีความสัมพันธ์กับเสถียรภาพทาง
การเมืองแห่งชาติ (national political stability) ไม่ใช่เสถียรภาพของรัฐบาล (government
stability) เสถียรภาพทางการเมืองหมายถึงระบบการเมืองของรัฐมีความมั่นคง สม่ำเสมอ ไม่มี
การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง หรือมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (gradual change)
อันมีลักษณะของการพัฒนาทางการเมือง (political development) ที่ประชาชนส่วนใหญ่ยอม
รับได้ ถึงแม้จะมีกลุ่มคนบางกลุ่มคัดค้านหรือไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่มีความรุนแรงจนถึงกับเกิดความ
แตกแยก (partisan) หรือสงครามการเมือง (civil war) แต่อย่างใด ดังนิ้นเสถียรภาพทาง
การเมืองจึงอาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับเสถียรภาพของรัฐบาลก็ได้ ดังเรามักจะพบเห็นว่า
ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองที่มั่นคงอาจมีการเปลี่ยนรัฐบบาลบ่อยครั้งทั้งๆ ที่รัฐบาลชุดที่
บริหารประเทศนั้นยังวาระในการดำรงตำแหน่งอีกหลายปี แต่เมื่อการบริหารประเทศของรัฐบาล
อาจส่งผลเสียหายต่อเสถียรภาพทางการเมืองแห่งชาติรัฐบาลนั้นก็อาจมีการยุบสภา หรือ
พรรคการเมืองที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้นได้เปลี่ยนแปลงผู้นำพรรคการเมืองที่ดำรงตำแหน่ง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 เสถียรภาพทางการเมืองแห่งชาติ ดังปรากฏในเหตุการณ์ทางการเมืองในหลายประเทศ อาทิ
นายกรัฐมนตรีมาเป็นผู้นำพรรคคนอื่นตามมติของพรรคการเมืองนั้นเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่ง
ญี่ปุ่น อิตาลี ออสเตรเลลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย (นอร์เวย์, สวีเดน,
เดนมาร์ก, ฟินแลนด์) เป็นต้น ในทางตรงข้าม ประเทศที่คำนึงถึงเสถียรภาพของรัฐบาลอย่าง