Page 104 - kpi17073
P. 104
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 103
(Polybius) พูดถึงวัฏจักรของระบบการเมืองการปกครองและวิพากษ์วิจารณ์ความเข้มแข็ง
ความล้มเหลวของการปกครองต่างๆ ในเชิงของการเป็นวัฏจักร ซึ่งจุดนี้คือจุดคานงัดที่ซิเซโร
(Cicero) ใช้อ้างในการสร้าง Republic คือการปกครองที่เหมาะสมที่สุดนั้นคือว่า เราไม่สามารถ
อยู่ภายใต้การปกครองของคนๆ เดียวได้ตลอดไป เช่นเดียวกัน เราไม่สามารถอยู่ภายใต้
การปกครองของคณะบุคคลได้ตลอดไป เราไม่สามารถอยู่ภายใต้การปกครองของคนส่วนใหญ่
ได้ตลอดไป การปกครองของคนส่วนใหญ่ ของคณะบุคคล และของคนๆ เดียวนั้น ล้วนแต่มีข้อดี
ข้อเสียในตัวของมันเองทั้งสิ้น ผมคิดว่าคนที่พูดเรื่องนี้ชัดที่สุดคือ แมคเคียเวลลี (Niccolo
Machiavelli) ที่เขาพูดในหนังสือเรื่อง “The Discourses” ไม่ใช่ “The Prince” ที่บอกว่า
“ข้าพเจ้าจึงขอสรุปว่า การปกครองทุกรูปแบบล้วนมีข้อบกพร่องด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ปกครอง
ผู้วางรูปแบบการปกครองที่ชาญฉลาด เมื่อได้ตระหนักรู้ถึงข้อดีข้อเสียของการปกครองแต่ละ
ระบอบ ก็จะเลือกระบอบที่รวมเอาทุกรูปแบบเข้าไว้ด้วยกัน เพราะพิจารณาเลือกระบบที่มี
ประสิทธิภาพและมั่นคงที่สุด” ซึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีการผสมผสานเจ้าผู้ปกครองเหล่าอำมาตย์
และอำนาจของประชาชนเข้าด้วยกัน อำนาจทั้งสามก็จะติดตามและตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
ความคิดนี้ของแมคเคียเวลลี ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่กรีก คิดว่าดุลยภาพที่เหมาะสมที่สุดในทาง
การเมืองไม่ใช่พลังของ Social force แต่เป็นการจัดพลังให้กับตัวรัฐบาลและตัวรัฐธรรมนูญนั่นเอง
ถ้าดูงานอิทธิพลในระยะถัดมา สิ่งที่ประเทศอเมริกาสร้างขึ้นมาภายหลังการปฏิวัติ 1776, 1789
ร่างรัฐธรรมนูญของตัวเอง คนอเมริกันไม่ได้ชอบ Democracy เพราะเป็นการปกครองที่ชั่วร้าย
Democracy เพิ่งจะมีพลังในทางบวกในสมัยหลังสงครามเย็น แต่สิ่งที่นักปฏิวัติอเมริกันหรือ
นักรัฐธรรมนูญต้องการคือ การสร้าง Republics หรือมหามลรัฐนั้น ไม่ได้เป็นการสร้างประชาธิปไตย
อย่างเดียวคือการที่อำนาจของคนส่วนใหญ่อยู่ร่วมได้กับอำนาจของคนส่วนน้อยและอยู่ร่วมได้กับ
อำนาจของคนๆ เดียว เป็นรูปแบบการผสม Government อย่างหนึ่ง เช่นเดียวกัน การสร้าง
“Constitutional monarchy” (การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ) ก็มีความแตกต่าง
จาก Democracy อยู่พอสมควร ซึ่งหากจะอธิบายเรื่องนี้มันจะยืดยาวมาก “Democracy” ไม่ใช่
อันเดียวกับ “Constitutional Monarchy” ผมเองฉุกคิดมานานแล้วว่า ตอนที่คณะราษฎรปฏิวัติ
ใหม่ๆ เขาต้องการสร้าง “Constitutional Monarchy” ไม่ต้องการสร้าง Democracy เลย แต่
Democracy กลับมามีอิทธิพลภายหลัง 4-5 ปีด้วยเงื่อนไขอะไรบางอย่าง อาจจะด้วยอิทธิพลของ
นักหนังสือพิมพ์การเมือง อิทธิพลของฝ่ายซ้าย หรืออิทธิพลอะไรบางประการ จึงทำให้คำทั้งหมด
ปะปนกัน เช่นเดียวกันการสร้าง “Constitutional Democracy” ก็ไม่ใช่ “Democracy” ซึ่งคิดว่า
คนสับสนคิดว่า “Democracy” คือ “Constitutional Democracy” ซึ่ง “Democracy” หากพูด
ในในมุมนักรัฐศาสตร์จะต้องอยู่ในชุมชนขนาดเล็ก คือชุมชนที่คนไปประชุมกันเอง ตัดสินเอง
และบริหารงานกันเองจึงจะเรียกว่า “Democracy” ถามว่าทำไม เพราะคนที่เป็นเจ้าของชุมชน
เขาประชุมกันเอง บริหารกันเอง ตัดสินใจกันเอง รับผิดชอบกันเอง แต่เมื่อใดที่เลือกตัวแทน
ซึ่งตัวแทนก็ไม่ใช่ Democracy แล้ว คนที่เป็นตัวแทนจะมีอะไรที่เหนือกว่าคนธรรมดาเสมอ เช่น
เหนือในเรื่องการพูด ความรู้ ฐานะ ชาติตระกูล บารมี เพราะรูปแบบของการปกครองสมัยใหม่
ที่จะเรียกว่า “Constitutional Democracy” ก็ไม่ใช่ “Democracy” ในตัวมันเอง ดังนั้น การจะ
ทำให้ Democracy อยู่ในชุมชนขนาดใหญ่ ประเทศขนาดใหญ่ รวมทั้งรัฐสมัยใหม่ โดยใช้ตัวแทน การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
เป็นหลักก็ยังทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองอยู่พอสมควร จึงมีข้อสรุปสั้นๆ เพื่อให้ฉุกคิด