Page 106 - kpi17073
P. 106
พระมหากษัตริย์กับดุลยภาพแห่งอำนาจ
ในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐไทย
รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ*
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
(I shall reign over the Kingdom with good governance
for the well-being of all Thais)
(พระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ที่ได้ทรงพระราชทานอารักขาแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
วันศุกรที่ 5 พฤษภาคม 2493)
รัฐ โครงสร้างอำนาจรัฐ และสถาบันพระมหากษัตริย์
รัฐ (state) เป็นชุมชนของมนุษย์หรือประชากร (population) ที่ก่อตั้งขึ้น
มาเป็นการถาวรเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันโดยครอบครองดินแดนอันเป็น
อาณาเขตที่กำหนดไว้แน่นอน (a fixed territory) มีการปกครองหรือรัฐบาล
(government) และมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) ดังนั้น รัฐจึงผูกขาดการมี
อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐไว้แต่เพียงผู้เดียว รัฐจึงมี
อำนาจเหนือองค์กรทุกองค์กรและพลเมืองทุกคน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ารัฐเป็น
ชุมชนทางการเมือง (political community) มีสภาพเป็นนิติบุคคล (juristic
person) ที่สามารถฟ้องร้ององค์กรหรือบุคคลหรืออาจถูกฟ้องร้องโดยองค์กรหรือ
บุคคลภายในรัฐได้ รวมถึงการที่รัฐอาจฟ้องร้องรัฐอื่นที่ละเมิดกฎบัตรระหว่าง
ประเทศที่รัฐเป็นภาคีสมาชิกหรือรัฐอาจถูกฟ้องโดยรัฐอื่นที่เป็นภาคีสมาชิก
กฎบัตรระหว่างประเทศที่รัฐสังกัดในกรณีละเมิดกฎบัตรระหว่างประเทศนั้นได้
เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรองค์การการค้าโลก เป็นต้น
* ผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า