Page 111 - kpi17073
P. 111

110     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       “… “benevolent despot” ruling the people wisely as a father rules his children,
                  believing that his highest rim of government is the happiness of the greatest

                  member…
                       … From olden time the King of Siam has been the father of this people …
                  was “Father of the Country”, Perhaps you would like the Siamese for that, it is

                  “Po Muang”…
                       … That has always been the concept in Siam That the King is the father of

                  the people  and that he treats them as children rather than as subjects.
                       … the duties of the King, of course, are to help the people, to govern them in
                  such a way as to make them happy. The King, like the father in a patriarchal family,

                  is to be obeyed. That is the relationship like a father and his son. The father advises
                  the son what is the right thing to do and he expects the son to obey. “the

                  obedience of love, not to fear…”

                                                          (คำแปล)


                       “... ดำรงพระยศเป็น “ธรรมราชา” ตามหลักการปกครองของพระมหากษัตริย์สยาม

                  แต่โบราณโดยถือหลัก “ธรรมเป็นใหญ่” อันได้แกหลักความเป็นจริง ความถูกต้อง ความดีงาม
                  และหลักเหตุผล ทรงต้องการให้ประชาชนมีความสุขใช้หลักการปกครอง “พ่อคุ้มครองลูก”
                  พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือน “พ่อ” ประชาชนเปรียบเสมือน “ลูก” ความสัมพันธ์ระหว่าง

                  พระมหากษัตริย์กับประชาชนก็คือพ่อกับลูก พ่อจะแนะนำลูกว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องทำ
                  ลูกจึงมีความเชื่อฟังพ่อ เพราะต้องมีความรักให้แก่กันและกัน มิใช่ความกลัว...”


                       เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างปฏิบัติต่อกันและกันมาอย่างมั่นคงและต่อเนื่องมายาวนาน สถาบัน
                  พระมหากษัตริย์ในแต่ละยุคสมัยจึงได้หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับประชาชน ดังเรา

                  จะเห็นการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนดังคำปรากฏในสังคมไทยว่า
                  “ราชประชาสมาสัย” ที่มีที่มาจากคำว่า “ราช” “ประชาหรือประชาชน” “สม” และ “อาศัย” ซึ่ง

                  หมายถึง “การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนอย่างแยกกัน
                  ไม่ออก” ซึ่งเป็นคำใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ.
                  2501 ทรงแปลให้ว่า “พระมหากษัตริย์และประชาชนอาศัยซึ่งกันและกัน”  โดยมีสัญลักษณ์คือ
                                                                                       3
                  ดอกบัวกับน้ำ “ดอกบัว”หมายถึงพระมหากษัตริย์ และ “น้ำ” หมายถึงประชาชน ดอกบัวอยู่ได้
                  เพราะน้ำ น้ำก็อาศัยดอกบัวเพื่อความสวยงามและมีคุณค่า พสกนิกรถือว่าพระมหากษัตริย์

                  เป็นที่พึ่งของตน เหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                  ภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขณะรถยนต์
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   เสด็จอย่างเนืองแน่น ท่ามกลางเสียงถวายพระพรนั้นมีชายคนหนึ่งตะโกนก้องแทรกเข้ามาใน
                  พระที่นั่งเคลื่อนออกจากพระบรมมหาราชวังมาตามถนนราชดำเนินผ่านกลุ่มพสกนิกรผู้มาเฝ้าส่ง





                        รายละเอียด โปรดดู ปราโมทย์ นาครทรรพ, “ราชประชาสมาสัย โอกาสในหนึ่งพันปี”, สืบค้นเมื่อวันที่ 25
                     3
                  มิถุนายน 2557 จาก http://www. Manager.co.th/daily/ViewNews.aspx?NewsID-9570000002147.
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116