Page 108 - kpi17073
P. 108
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 107
เดียวโดยไม่คำนึงถึงเสถียรภาพทางการเมืองแห่งชาติและพยายามใช้กลอุบาย (stratagem)
ทุกวิถีทางเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลให้อยู่ในอำนาจให้นานที่สุดหรือให้ครบวาระ (รวมถึง
ในบางกรณีรัฐบาลที่อยู่ในอำนาจพยายามใช้กลอุบายหรือเลห์เหลี่ยมกลโกงขยายอำนาจการเป็น
รัฐบาลของตนออกไปด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ การประกาศกฎอัยการศึก (martial law), การปฏิวัติ
(revolution), การรัฐประหาร (coup d’etat) ฯลฯ) แต่อาจส่งผลร้ายต่อเสถียรภาพทางการเมือง
แห่งชาติก็ได้ เช่น การเมืองในช่วงรัฐบาลของนาย Ferdinand E. Marcos (1965-1986) แห่ง
ฟิลิปปินส์, การเมืองในช่วงรัฐบาลของพลเอก Suharto (1967-1998) แห่งอินโดนีเซีย, การเมือง
ในช่วงรัฐบาลของนาย Hosni Mubarak (1981-2011), การเมืองในช่วงรัฐบาลของพันเอก
Muammar al-Qaddafi (1969-2111) แห่งลิเบีย เป็นต้น ถึงแม้รัฐบาลเผด็จการของประเทศ
เหล่านี้จะมีเสถียรภาพมั่นคง แต่ในผลสุดท้ายระบบรัฐบาลที่มั่นคงของประเทศเหล่านี้ก็ได้สร้าง
ความหายนะแก่เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐ ส่งผลร้ายต่อระบบการเมืองแห่งรัฐ ทำให้เกิด
สงครามกลางเมือง เกิดความแตกแยกของคนในชาติ เศรษฐกิจตกต่ำ และสภาพสังคมของคน
ในชาติตกต่ำในที่สุด
ความมั่นคงแห่งชาติ (national security) ของแต่ละรัฐย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
เช่น ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical factor), ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ (historical factor),
ปัจจัยทางความเชื่อ ปรัชญา และอุดมการณ์ทางการเมือง (political belief, philosophy, and
ideology), ปัจจัยทางศาสนาและความเชื่อทางสังคม (religious and social belief factor),
ปัจจัยทางจารีตประเพณีและวัฒนธรรม (conventional and cultural factor), ปัจจัยของความ
เป็นชาติและรัฐชาติ (statehood and nation-statehood factor) เป็นอาทิ ความมั่นคงแห่งชาติ
จึงสัมพันธ์กับโครงสร้างอำนาจรัฐ (state power structure) และโครงสร้างอำนาจรัฐแต่ละรัฐ
อาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้นที่ประกอบเป็นโครงสร้างอำนาจรัฐ
นั้น รัฐหรือประเทศต่างๆ จึงไม่อาจลอกเลียนแบบอย่าง (pattern) หรือรูปแบบ (model) และ
วิธีการ (method) ของโครงสร้างอำนาจรัฐเพื่อสร้างดุลยภาพแห่งอำนาจตามแบบอย่างหรือรูป
แบบของประเทศที่ต้องการจะเลียนแบบอย่างนั้นได้ ประเทศกำลังพัฒนา (developing
countries) ที่มีความมุ่งมาดปรารถนาหรือมีความทะเยอทะยานที่จะมีความทันสมัยทางการเมือง
(political modernization) ตามแบบประเทศประชาธิปไตยตะวันตกจึงมีความพยายามที่จะลอก
แบบอย่างมาจากประเทศประชาธิปไตยตะวันตกทั้งหลาย เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ก็ได้ลอกเลียน
แบบอย่างมาจากระบบการเมืองแบบประธานาธิบดี (presidential system of government) ของ
สหรัฐอเมริกาภายหลังจากได้รับเอกราชจากสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1946 แต่ก็ได้สร้างปัญหา
ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง (political instability) ให้กับประเทศฟิลิปปินส์ในเวลาต่อมา
สำหรับประเทศไทย ภายหลังจากการยึดอำนาจการปกครองได้สำเร็จเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.
2475 คณะราษฎร์ก็ได้เปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional
monarchy) โดยลอกเลียนแบบอย่างมาจากระบบการเมืองแบบรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีแบบ
อังกฤษ (The British parliamentary or cabinet system of government) โดยที่มีระบบ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
การเมืองที่อำนาจบริหาร (the executive power) มาจากรัฐสภา (parliament) ซึ่งได้แก่สภา