Page 103 - kpi17073
P. 103
102 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ประการ จนในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ดุลยภาพในทาง
การเมืองที่เราพบได้ในงานเขียนไทยอีกชุดถัดมาคือ ดุลยภาพระหว่างทหารกับข้าราชการพลเรือน
ซึ่งคิดว่าตัวแบบที่ดีที่สุดคือในสมัยจอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม ซึ่งสมัยจอมพลสฤษดิ์
มีดุลยภาพค่อนข้างมาก เบื้องหลังจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่ทำให้เกิดดุลยภาพคือ แทคโนแครต
(technocrat) ที่ทำงานร่วมกับจอมพลสฤษดิ์ทั้งหมด จอมพลสฤษดิ์ไม่ได้เป็นคนคิดรัฐธรรมนูญ
เองทั้งหมด ไม่ได้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเอง ไม่ได้สร้างสภาพัฒน์เอง ไม่ได้สร้างธนาคาร
แห่งประเทศไทย สำนักงานประมาณฯ คนที่ทำสิ่งเหล่านั้นคือ ข้าราชการพลเรือนทำ ถ้าไม่มี
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ก็ไม่มีดุลยภาพในระบบการเมืองไทยในช่วงนั้น อ.ป๋วยเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนแครต
ที่ทำงานให้แก่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดุลยภาพถัดมาคือ ดุลยภาพที่อยู่ในงานเขียนของอาจารย์
เสน่ห์ จามริก และงานของอีกหลายท่าน อาจารย์สุจิต บุญบงการ เป็นต้น ก็พูดถึงดุลยภาพ
ในสมัยที่เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือด้านหนึ่งเป็นดุลยภาพที่เกิดการถ่วงดุลกันเองระหว่าง
ข้าราชการทหารกับพลเรือน ข้างหนึ่งกับพลังของพรรคการเมืองกับพลังของพรรคที่ขึ้นมาจากกลุ่ม
ทุนก็เป็นดุลยภาพ ผมคิดว่า 8 ปีของพลเอกเปรมเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการอธิบายดุลยภาพ
ของการเมืองไทยในสมัยนี้ ถัดมางานของอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นตัวอย่าง งานของ
นักสังคมวิทยาหลายคนก็พูดถึงดุลยภาพของรัฐกับประชาสังคม ทฤษฎีเรื่องสังคมล้อมรัฐ รัฐล้อม
สังคมของอาจารย์ชัยอนันต์เป็นตัวอย่าง งานเรื่องดุลยภาพระหว่างรัฐกับตลาด ดุลยภาพระหว่าง
คนเมือง คนชั้นกลาง คนชนบท นี่คือทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยของอาจารย์อเนก เหล่าธรรมทัศน์
อาจารย์เอนกพูดถึงดุลยภาพที่ดีที่สุดของการเมืองไทยสมัยหนึ่ง ก็คือเรื่องของคนชนบทเป็นคน
เลือกตั้ง เป็นฐานคะแนน แต่ทางนโยบายคือคนเมือง เพราะฉะนั้นถ้ามีดุลยภาพของการเมืองไทย
ก่อนปี 40 ก็คือการเมืองของสองนคราประชาธิปไตยที่ดำรงอยู่ร่วมกัน ผมเข้าใจว่าเจตนารมณ์
ของคนร่างรัฐธรรมนูญปี 40 ก็คือการสร้างดุลยภาพใหม่ คือการให้มีดุลยภาพระหว่างนักการเมือง
ภาคนักการเมืองจริงๆ ภาคการเมืองอาชีพกับการเมืองภาคพลเมือง คือเราต้องการให้มีดุลยภาพ
เกิดขึ้น และในปี 40 ก็มีดุลยภาพเกิดขึ้นอยู่ได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในภาคพลเมืองเองก็มีการ
เปลี่ยนแปลงเยอะมาก สุดท้ายก็เป็นดุลยภาพที่อยากให้เกิดขึ้นในกรณีของการเมืองระบบตัวแทน
กับการเมืองภาคประชาชน นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างคร่าวๆ ซึ่งถ้าเราตั้งข้อสังเกต ผมเข้าใจว่า
วิธีคิดของปัญญาชนไทย คนไทยก็คือต้องการให้มีการถ่วงดุล มีคานงัดกันระหว่าง force
พลังต่างๆ วิธีการของไทยคือต้องการให้ force พลังต่างๆอยู่ในจุดที่สมดุลกันหรือคานกันเองเป็น
Balancing Power แต่ถ้าเราข้ามไปดูนักคิดตะวันตก มีข้อสังเกตบางประการที่น่าสนใจ ผมยกคำพูด
ของเพลโตขึ้นมาในหนังสือเรื่อง “The Republic” ของเพลโต อธิบายว่า ถ้าเราคิดว่านครแต่ละ
แห่งหลายนคร เราไม่คิดว่านครเดียว เป็นนครแต่ละนคร ถ้าเราคิดว่ามีแต่นครของคนจนและนคร
ของคนรวย ถ้าเราคิดอย่างนี้โดยที่ไม่ได้มองส่วนอื่น เพลโตบอกว่าเป็นข้อผิดพลาด ผมเข้าใจว่า
ความคิดของตะวันตกเขาไม่ได้สนใจเรื่อง force มากนัก แต่วิธีคิดของกรีก คือการปกครองในโลก
นี้มีอยู่ 3 แบบ คือการปกครองของคนๆ เดียว การปกครองของคณะบุคคล และการปกครองของ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 “Monarchy” ถ้าไม่มีคุณธรรมก็เรียกว่า “Tyranny” การปกครองของคณะบุคคลก็เช่นเดียวกัน
คนส่วนใหญ่ การปกครองของคนๆ เดียวอาจมีคุณธรรมหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีคุณธรรมก็เรียกว่า
มีคุณธรรมก็ได้ ไม่มีคุณธรรมก็ได้ การปกครองของคนส่วนใหญ่มีคุณธรรมก็ได้ ไม่มีคุณธรรม
ก็ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่นักคิดกรีกคนถัดมาซึ่งมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อชาวโรมัน คือ โพลิบิอุส