Page 102 - kpi17073
P. 102

การสร้างดุลยภาพในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ


                            ศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์*
















                                  ก่อนได้รับเชิญมาก็มีงานวิจัยซึ่งทำใกล้เสร็จแล้ว โดยมีอาจารย์ภูริ

                            ฟูวงศ์เจริญ ซึ่งเป็นอาจารย์ของธรรมศาสตร์ร่วมวิจัยด้วย เป็นดุลภาพของฝ่าย
                            บริหารกับรัฐสภา ซึ่งหัวข้อที่เชิญมาพูดเป็นเรื่องของดุลยภาพในระบบโครงสร้าง
                            อำนาจรัฐ หากนำงานวิจัยนั้นมาพูดเกรงว่าจะได้แง่มุมเดียวคือ ดุลยภาพของ

                            ฝ่ายบริหารคณะรัฐมนตรีกับรัฐสภา ซึ่งหากผู้ใดสนใจก็จะมีเป็นไฟล์ pdf แจกได้
                            ในไม่ช้า อย่างไรก็ตามในวันนี้ได้เตรียม PowerPoint มาเพื่ออภิปราย ซึ่งจะ

                            แสดงให้เห็นว่าคิดอย่างไรในดุลภาพระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ เพื่อให้ตอบสนอง
                            กับหัวข้ออภิปรายในวันนี้ โดยมีหัวข้ออภิปรายอยู่ 2-3 เรื่อง เรื่องที่ 1 จะเริ่ม
                            สำรวจนักคิดนักเขียนไทย งานไทยก่อน ซึ่งคงจะเป็นหัวข้อหลักของการจัดงาน

                            เสวนางาน KPI Congress ในปีนี้ คือ การให้ความสำคัญกับ Balancing Power
                            การสร้างดุลยภาพของไทยจะเป็นอย่างไรก็ต้องดูจากความเป็นมาของนักคิด

                            นักเขียนไทยก่อน จากนั้นจะใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อพูดถึงการสร้างดุลยภาพอำนาจรัฐ
                            ในกรณีของนักคิดนักเขียนตะวันตกหรือสากลพูดเรื่องนี้กันอย่างไร และสุดท้าย
                            ทั้งเราจากฝั่งไทยและฝั่งตะวันตกแล้วเราจะมีข้อสรุปเบื้องต้นและมีข้อเสนอ

                            ในเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง ในกรณีของนักคิดนักเขียนไทยเขาจะดูความเป็น
                            มาย่อๆ ดุลยภาพในโครงสร้างของการสร้างอำนาจรัฐในไทยเราเคยมีการพูดกัน

                            มาพอสมควรถึงดุลยภาพของคณะเจ้าและคณะราษฎร ผู้ที่พูดเรื่องนี้อย่าง
                            คลาสสิกที่สุดคือ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ในครั้งที่พระองค์ยังเป็น
                            บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ท่านได้อภิปรายไว้ว่า ถ้ามีการ

                            เปลี่ยนแปลงครั้งใด อารมณ์ของการเปลี่ยนแปลงของสนามการเมืองจะคล้ายกับ
                            ลูกตุ้มนาฬิกาแกว่งไปแกว่งมาแล้วเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะมีดุลยภาพเกิดขึ้น มีงาน

                            เขียนหลายชิ้น อาจารย์เสน่ห์ จามริก งานเขียนของอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช
                            เป็นต้น ได้อธิบายเรื่องดุลยภาพของคณะเจ้าและคณะราษฎรไว้ ซึ่งมีดุลยภาพที่
                            สมบูรณ์ที่สุดในช่วงปีแรกเท่านั้น คือปี 2475 แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาดุลยภาพ

                            ก็จะหายไป เพราะเนื่องจากอาจจะมีการขัดข้องใจกัน ไม่ลงรอยกันในบาง


                              *  รักษาราชการในตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ท่าพระจันทร์  มหาวิทยาลัย
                            ธรรมศาสตร์ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107