Page 105 - kpi17073
P. 105
104 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
กัน คือ ถ้าเราสำรวจแนวคิดของไทยตั้งแต่พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ตั้งแต่ 2475 เรื่อยมา
นักคิดไทยพยายามและเสียเวลามากที่ทำให้เกิด Balanced Social Force คือพยายามทำให้
อำนาจในการเมืองเกิดการถ่วงกัน ซึ่งหลายคนนึกถึงการกระจายอำนาจ การกระจายความมั่งคั่ง
การกระจายทรัพยากร การกระจายโอกาส ความเป็นธรรม ซึ่งเราต้องการทำให้ force ทั้งหลาย
มันอยู่ตัว แต่ผมคิดตรงกันข้าม เริ่มตั้งแต่นักคิดตะวันตก เพลโต (Plato) แมคเคียเวลลี
(Niccolo Machiavelli) โพลิบิอุส (Polybius) และอื่นๆ ก็ไม่ได้คิดในแง่มุมนี้ เพราะนักคิดตะวันตก
มองว่า “Social force” ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีทางกำหนดกฎเกณฑ์ได้ว่า สังคมจะเปลี่ยน
ไปอย่างไร ผู้นำใหม่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เราไม่มีทางทำให้ Social force อยู่นิ่งกับที่ได้ เพราะว่ามี
พลวัตสูงมาก จึงมีข้อสังเกตว่าในทางตะวันตกนั้น เขาไม่ต้องการ “Balancing Power” แต่
ต้องการ “Balancing Constitution” ทำให้รัฐธรรมนูญมีคุณภาพ และต้องการ Balance หรือ
Mixed Government แน่นอนที่สุด อำนาจมาจากคนส่วนใหญ่ แต่คนส่วนใหญ่ต้องยอมรับ
โดยเต็มใจ ซึ่งบางครั้งก็ต้องมีความขัดแย้ง เมื่อคนส่วนใหญ่มีความขัดแย้งก็ต้องไปหาคนส่วนน้อย
มาตัดสิน ไม่ใช่หาคนส่วนใหญ่มาตัดสิน จึงต้องหาคณะบุคคลตัดสินก็คือ คณะตุลาการมาตัดสิน
และนี่ก็คือ “Balancing Constitution” “Balancing Government” อันนี้เป็นวิธีคิดแบบตะวันตก
ผมคิดว่าการสร้างดุลยภาพในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐถ้าเราทำให้เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ส่วนก็จะเป็น
ภาพในฝันวัตถุดิบซึ่งมันจะเกิดมาเป็นพลังมันเกิดขึ้นได้จากหลายส่วน เกิดขึ้นเพราะอาวุธ เกิดขึ้น
เพราะภาษา เทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีก็เป็นอำนาจ เงินตรา บารมี ศาสนา กฎหมาย ซึ่งเราก็ต้อง
ทำให้เกิดดุลยภาพในทุกส่วน เป็นภาพในฝันอยู่พอสมควรที่เราจะทำให้อยู่นิ่งได้อย่างไร แต่ถ้า
เราสร้างภาพในแบบตะวันตก คือ เน้นส่วนระดับยอดของสังคมการเมือง ถ้าเราเข้าใจว่า สังคมคือ
3 ส่วน ส่วนที่เป็นกลางและระดับล่างต้องเปิดไว้ ปล่อยให้สังคมพัฒนาไปเอง เพราะเราไม่
สามารถคาดเดาได้ถึงแหล่งที่มาของอำนาจ เช่น หากย้อนไปเมื่อ 30 ปีก่อนใครจะคาดคิดว่า
ดาวเทียม โทรศัพท์มือถือจะเป็นแหล่งที่มาของอำนาจ และในอนาคตแหล่งที่มาของอำนาจก็จะ
เปลี่ยนไปอีก ซึ่งในแนวคิดตะวันตกก็พยายามจะปล่อยสิ่งนี้ไปและพยายามที่จะสร้างดุลยภาพให้มี
การถ่วงดุลในเชิงของ “Balancing Constitution” และเป็น “Mixed Government” เป็นรูปแบบ
ที่ปรารถนา ไม่ใช่ “Democracy” ซึ่งการทำทุกอย่างให้เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่
ต้องเข้าใจถึงธรรมเนียมของการวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของที่มีได้ของทั้ง 3 รูปแบบ ถ้าหาก
เราเข้าใจได้ก็จะเกิดดุลยภาพในลักษณะหนึ่ง และทางออกที่ดีที่สุดคือ จะต้องหาดุลยภาพทั้งสองอย่าง
ซึ่งเป็นภารกิจใหญ่ของคนไทยที่จะต้องสร้างดุลพภาพที่เกิดขึ้นจากสังคมตะวันตกและวิถีทางของ
สังคมไทยเอง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1