Page 118 - kpi17073
P. 118
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 117
ของระบบการปกครองแบบ “พ่อปกครองลูก” ที่มีมายาวนานและเป็นหลักธรรมในพุทธศาสนา
ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยและชนชาติไทยมานานทำให้อิทธิพลของระบบการปกครอง “พ่อปกครอง
ลูก” ยังคงเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญของการปกครองต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี
กรุงรัตนโกสินทร์ทั้งก่อนและหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญจนถึงปัจจุบันก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่น
อยู่เสมอว่าพระมหากษัตริย์เป็นเสมือน “พ่อแห่งแผ่นดิน” (father of the country) และเป็นที่
พึ่งพาเมื่อประเทศชาติเกิดปัญหาภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น วาตภัย อุทกภัย อัคคีภัย เป็นต้น
รวมทั้งเมื่อประชาชนเกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคี อันจะส่งผลเสียหายต่อความมั่นคง
แห่งชาติ ในห้วงเวลาของการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่ส่งผลให้ประเทศ
เพื่อนบ้านของประเทศไทยหลายประเทศต้องตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์กุศโลบายหลายประการเพื่อรักษาบ้านเมือง
สยามให้รอดพ้นจากการถูกล่าอาณานิคมเป็นผลสำเร็จ จนส่งผลให้ประเทศสยามเป็นเพียง
ประเทศเดียวในเอเซียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ
ตะวันตก พระราชกุศโลบายที่สำคัญยิ่งมีนานัปการ อาทิ การพัฒนาประเทศสยามให้มีความเจริญ
ทัดเทียมกับนานาประเทศในยุโรปตะวันตกด้วยการปฏิรูปการศึกษาแบบตะวันตกให้คนไทยได้รับ
การศึกษาอย่างทั่วถึงทั้งสยามประเทศ ทรงปฏิรูปวัฒนธรรมไทยที่เป็นอุปสรรคต่อคำกล่าวอ้าง
ของประเทศยุโรปตะวันตกนานัปการ เช่น การยกเลิกประเพณีหมอบคลานในการเข้าเฝ้า
พระมหากษัตริย์ เป็นต้น จนทำให้ชาวตะวันตกไม่ดูหมิ่นวัฒนธรรมไทยว่า “ประเทศไร้อารยธรรม”
(uncivilized nation) อีกต่อไป เพราะประเทศมหาอำนาจที่มุ่งล่าอาณานิคมมักอ้างความชอบ
ธรรมในการยึดครองประเทศที่ต้องการให้ตกเป็นอาณานิคมของเขาว่าต้องการที่จะมาพัฒนาและ
แก้ไขปัญหาที่ราษฎรของประเทศนั้นถูกผู้ปกครองของเขากดขี่และเป็นประเทศที่ไร้อารยธรรม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปกองทัพให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพแบบ
15
ตะวันตกโดยการจ้างนายทหารชาวอังกฤษมาเป็นครูฝึกสอน การสร้างและพัฒนาระบบการ
คมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยเฉพาะการก่อสร้างเส้นทางรถไฟหลายสายให้
เชื่อมติดต่อกันทั้งในภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการสื่อสาร
ไปรษณีย์ ทรงเสด็จไปเยือนเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในทวีปยุโรปถึง
2 ครั้ง คือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2440 และครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2450 ส่งผลดีต่อประเทศชาติเป็น
เอนกอนันต์อันหาที่เปรียบมิได้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ประเทศสยามรอดพ้นจากการตก
เป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอันได้แก่รัสเซีย
อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้ให้การต้อนรับพระองค์เสมือนผู้นำในยุโรป สำหรับการเสด็จเยือน
ประเทศอังกฤษใน พ.ศ. 2440 ทรงได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระนางเจ้าวิคทอเรียเป็นอย่างดี
ยิ่งและทรงได้รับการถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิจจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในฐานะที่เป็น
พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในการพัฒนาประเทศและการรักษาเอกราชของประเทศ
15 รายละเอียดโปรดดู พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เจ้าชีวิต : พงศาสดาร (รัชกาลแห่งราชวงศ์ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
จักรี, พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จำกัด, 2554.