Page 123 - kpi17073
P. 123
122 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
สรุป
สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีความเหมาะสมกับการสร้างและรักษาดุลยภาพแห่งอำนาจ
ในระบบโครงสร้างอำนาจของรัฐไทยเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นส่วน
ควบหลัก (basic component) ที่ทำให้ประเทศไทยดำรงความเป็นเอกราชมาจนทุกวันนี้
องค์ประกอบของระบบการเมืองไทยประกอบด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ กองทัพ พุทธศาสนา
และประชาชนมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เกื้อกูลกันตลอดมา ทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงและ
มีความเจริญก้าวหน้าและประชาชนมีความสุข ถึงแม้ในบางห้วงระยะเวลาจะมีประชาชนบางกลุ่ม
บางเหล่ามีความแตกแยกกันทางความคิดทางการเมือง แต่ความแตกแยกกลับไม่มีความรุนแรง
มากนักจนถึงกับเกิดสงครามกลางเมือง (civil war) ดังเช่นเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นใน
หลายประเทศทั้งในเอเซีย อัฟริกา และอเมริกาใต้ ที่มีการสูญเสียชีวิต ผู้คนบาดเจ็บเป็นจำนวน
มากและทรัพย์สินเสียหายย่อยยับ แต่ประเทศไทยไม่เคยเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงดังเช่นที่เกิด
ในประเทศเหล่านั้น
สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
อันเกิดจากอิทธพลของปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของโลกในช่วงเวลาต่างๆ ทำให้ประชาชนไทย
ยอมรับบทบาทของพระมหากษัตริย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่สอดคล้องกับทัศนคติและความ
เชื่อของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างลงตัว สถาบันพระมหากษัตริย์จึงยังคงเป็นที่รักใคร่
เทิดทูลสำหรับคนไทยอย่างไม่เสื่อมคลาย สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีลักษณะแลกเปลี่ยน
พึ่งพาโดยเฉพาะระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์อันจะขาดเสียมิได้ซึ่งกันและกันเสมือน
ดอกบัวกับน้ำ กล่าวคือ ดอกบัวจะงดงามได้ก็เพราะมีน้ำเกื้อหนุน และน้ำที่มีดอกบัวลอยอยู่จะ
ทำให้น้ำมีคุณค่า มีความสวยงาม ดอกไม้เปรียบกับพระมหากษัตริย์ และน้ำเปรียบกับประชาชน
จึงเกิดคำว่า “ราชประชาสมาสัย” ซึ่งหมายความว่าพระมหากษัตริย์กับประชาชนต้องพึ่งพาอาศัย
กันอย่างแยกกันไม่ออก สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นตัวแทนของคุณความดีทั้งปวง
นำความร่มเย็นเป็นสุขและชีวิตที่ดีมาสู่ประชาชน ทรงมีลักษณะชาติ (national character),
ลักษณะมหาชน (public character) และลักษณะต่อสู้ (fighting character) ส่งผลให้เกิด
ดุลยภาพของอำนาจในโครงสร้างอำนาจรัฐของไทยเป็นอย่างดี
สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยทรงเสริมสร้างความเป็นรัฐชาติ (nation-state) นับตั้งแต่
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูประบบราชการโดยนำระบบการรวม
อำนาจการปกครองเข้าไว้ในส่วนกลาง (centralization) ได้ส่งผลดีต่อความมั่นคงของชาติและ
เอกราชของชาติ การปฏิรูปเพื่อความเป็นรัฐชาติของไทยไปในลักษณะเดียวกันกับการเกิดรัฐชาติ
ในทวีปยุโรป เช่น ประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส สหราชอาณาจักร นอร์เวย์
สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าสถาบันพระมหา-
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 กษัตริย์ไทยได้สร้างและรักษาดุลยภาพของอำนาจในโครงสร้างอำนาจรัฐได้เป็นอย่างดี