Page 128 - kpi17073
P. 128
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 127
ชัดเจนมากขึ้น เวลาที่เราพูดถึงการวางดุลอำนาจ การตั้งหัวข้อทำนองนี้ถ้าพูดในทางรัฐธรรมนูญ
เป็นหัวข้อที่เก่าโบราณที่คลาสสิก คือเป็นการตั้งหัวข้อที่โบราณแต่มีความร่วมสมัยมาก คือไม่มี
การตกยุค เรื่องนี้ถ้าเข้าไปทำการศึกษาในเชิงรัฐธรรมนูญก็จะทราบแนวความคิดแบบนี้
การพยายามวาง Balancing of Power เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดรัฐธรรมนูญของโลก ประเทศ
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
แรกและก็ไปใช้ถือเป็นตัวแบบของประเทศต่างๆ เพราะเรามองว่ารัฐธรรมนูญของประเทศอเมริกา
ใช้มายาวนาน มากถึง 200 กว่าปี แต่ฉบับที่ใช้อยู่เป็นฉบับที่สอง ถ้าศึกษาก็จะพบว่าฉบับแรกที่เรียกว่า
“ข้อบัญญัติสมาพันธรัฐ” (Article on Confederation) ร่างมาตอนแรกทำให้ประเทศ
สหรัฐอเมริกาไม่สามารถทำภารกิจได้เลย เพราะการร่างฉบับแรกมีปัญหาเรื่องการวางสมดุลของ
อำนาจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน จึงส่งผลให้ประเทศต้องกลับมาทบทวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
ใหม่และเรียกประชุมกันที่ฟิลาเดเฟียทำการยกร่างและวางดุลอำนาจเสียใหม่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผม
อธิบายความแบบนี้ เราก็จะเห็นได้ว่าปัญหานี้เกิดขึ้นตั้งแต่เกิดรัฐธรรมนูญและหลังจากที่เกิด
รัฐธรรมนูญการตั้งคำถามแบบนี้ การตั้งโจทย์แบบนี้ยังคงดำรงอยู่ตลอดเวลา นอกจาก
สหรัฐอเมริกาเอง ก็ยังมีประเทศอังกฤษที่มีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ประเทศ
ฝรั่งเศส ประเทศเยอรมันที่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นโมเดลให้กับหลายประเทศเหมือนกัน ถ้าโฟกัสไปที่
ประเทศที่พยายามยกร่างรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ กลุ่มประเทศหนึ่งที่โฟกัสไปที่ Balancing of
Power มากๆ คือกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ซึ่งหลายประเทศในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา
พยายามใช้โมเดลจากสหรัฐอเมริกา เป็นระบบรัฐบาลแบบระบบประธานาธิบดี (Presidential
System) แต่สุดท้ายก็มีปัญหา ดังนั้นเขาก็พยายามทบทวนในเรื่องของการวางดุลยภาพเสียใหม่
และทำการไปเทียบเคียงว่านอกจากระบบประธานาธิบดี (Presidential System) แบบอเมริกา
แล้ว ยังมีระบบ Parliamentary แบบอังกฤษแล้วเอาสองอย่างนี้มาผสมผสานกันหาจุดแข็ง
จุดอ่อนของแต่ละระบบแล้วทำการออกแบบใหม่เพื่อทำให้ประเทศดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ ซึ่งใน
เชิงหลักการตรงนี้เรียกว่าเป็น Mixed Constitution หรือ Mixed Government ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็น
หัวข้อเดียวที่ตรงกับที่อาจารย์นครินทร์ได้บรรยายไปก่อนหน้านี้ สิ่งที่ผมพยายามจะเสนอก็คือว่า
ในเชิงหลักการไม่มีสูตรสำเร็จในเรื่องของการวางดุลยภาพ อาจจะต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบ
ต้องมีงานวิจัยมารับรองแล้วดูว่าถ้าเราเอามาประกอบรวมกันจะสามารถสร้างดุลยภาพหรือสร้าง
ระบอบการเมืองให้มีความเข้มแข็งได้หรือไม่ เวลาที่เราจะพูดถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญและกลับมา
สัมพันธ์กับหัวข้อในวันนี้แน่นอนว่าถ้าเราจะทำการยกร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะประเทศที่เคยมี
รัฐธรรมนูญใช้แล้วสิ่งที่เราต้องตั้งคำถามอย่างแรกคือ ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญเรามีปัญหาอะไร
เพราะการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เราต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าพูดแบบนี้จะเป็นการพูด
แบบนามธรรม แต่ถ้าเรามองในเชิงรูปธรรมก็คือ รัฐธรรมนูญก็คือสถาบันการเมืองคือ รัฐสภา
ครม. และศาล เราพยายามใช้บทนิยามเข้าไปแทนที่รัฐธรรมนูญเราก็จะเห็นทันทีว่า โจทย์ในวันนี้
ของเราคืออะไร โจทย์ในวันนี้คือ ที่ผ่านมาเรามีปัญหาเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองเราอย่างไร
รัฐสภา ครม. และศาลมีปัญหาอย่างไร ฉะนั้น วันนี้สะท้อนให้เห็นในหัวข้อวันนี้ว่า ที่ผ่านมาเรามี
ปัญหาเกี่ยวกับการวางดุลยภาพของทั้งสามองค์หลัก นี่คือประเด็นที่เราต้องพิจารณา ซึ่งในส่วนตัว
หากถามว่าที่ผ่านมาสถาบันการเมืองเรามีปัญหาหรือไม่ ก็ต้องตอบว่ามี ซึ่งประเด็นที่เป็นชนวน การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
ความขัดแย้งในทางการเมืองหรือในเชิงระบบรัฐธรรมนูญ คือประเทศไทยเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะ