Page 132 - kpi17073
P. 132
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 131
แต่ก็มิใช่เป็นกรณีที่สภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ออกกฎหมายจะเป็นผู้ตีความว่ากฎหมาย
ที่ฝ่ายตนเองเป็นผู้ตราขึ้นนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง
หลังจากนั้นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็ความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ที่มา และอำนาจ
หน้าที่ต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ก็ยกระดับ
องค์กรตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้น และสถาปนาให้เป็นองค์กรศาลผู้ใช้อำนาจตุลาการ เรียกว่า
“ศาลรัฐธรรมนูญ” โดยให้มีตุลาการที่มีวาระชัดเจน ดำรงตำแหน่งตุลาการเพียงตำแหน่งเดียว
มีวิธีพิจารณาคดีรูปแบบเดียวกับศาล และใช้ระบบศาลรัฐธรรมนูญนี้ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้
จากจุดเริ่มต้นของการเป็นองค์กรตุลาการรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาว่าบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ องค์กรทำหน้าที่วินิจฉัย
ชี้ขาดปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของไทยก็มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
ศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจในการเป็นองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในเรื่อง
ต่างๆ ครอบคลุมไปถึงการควบคุมมิให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือร่างกฎหมายขัดหรือแย้งต่อ
รัฐธรรมนูญ ตรวจสอบสถานะและคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง วินิจฉัย
ชี้ขาดกรณีปัญหาอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และอำนาจหน้าที่
เกี่ยวกับกิจการพรรคการเมือง
2. บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญไทยสะท้อนผ่านคำวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญ
ภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญคือการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยถือเป็นองค์กรที่มีหน้าที่วินิจฉัย
ชี้ขาดและมีสภาพบังคับเพื่อให้การใดๆก็ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นมีผลใช้บังคับได้จริง
ไม่ว่าจะเป็นการตรากฎหมายหรือการใช้อำนาจในทางการเมือง ตลอดจนความถูกต้องด้วย
คุณสมบัติของบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐหรืออำนาจทางการเมืองระดับสูงนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่
รัฐธรรมนูญกำหนดไว้สำหรับแต่ละตำแหน่งนั้น รวมถึงการชี้ขาดเกี่ยวกับการใช้อำนาจขององค์กร
ต่างๆที่รัฐธรรมนูญกำหนดบทบาทหน้าที่ไว้ให้ชัดเจนโดยองค์กรตุลาการที่ไม่มีส่วนในความขัดแย้ง
หากพิจารณาจากภารกิจข้างต้น จะเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะมีบทบาทหลักอยู่สองประการ
โดยบทบาทแรกนั้น คือ (1) บทบาทในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกละเมิดจาก
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และ (2) บทบาทในการตรวจสอบการใช้
อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันการเมืองต่างๆ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1 บ บา นการ ้ ร ส เสร าพ ประ า น ้ถ กละเ ากบ บั ั
ก า ั ร ้ รั รร น
บทบาทนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่หลักของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงเป็นอำนาจหน้าที่
แรกสุดที่เป็นต้นกำเนิดให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวนี้ และยังเป็นอำนาจหน้าที่ซึ่งประชาชน
ทั่วไปสามารถเข้าถึงได้เพื่อเรียกร้องขอความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของตน ไม่ว่า การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1