Page 137 - kpi17073
P. 137

136     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  สามครั้ง ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18 – 22/2555 ที่ 15-18/2556 และที่ 1/2557 โดย
                  สองคำวินิจฉัยหลังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่อง

                  ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับเรื่อง
                  หนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภานั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจใน
                                                                                             13
                  การปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ  คำวินิจฉัยทั้ง
                  สามเรื่องนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็นว่า การตีความตัวบทบัญญัติ
                  รัฐธรรมนูญมาตราที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญออกไปครอบคลุมกรณีการแก้ไขเพิ่มเติม

                  รัฐธรรมนูญเช่นนี้ เท่ากับว่าศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตว่าการแก้ไข
                  เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะทำได้หรือไม่ เพียงใด ซึ่งเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญได้สถาปนาตนเองขึ้น
                                                                          14
                  เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ


                  3. ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญไทยที่ส่งผล

                  ต่อดุลยภาพทางการเมือง



                       ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญของไทยกำลังมีพัฒนาการที่ดีในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ
                  ประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ มีการรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ใน

                  รัฐธรรมนูญ รวมถึงได้ยอมรับหลักการสิทธิและเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนในระดับสากล
                  เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความเห็นในคำวินิจฉัย แต่ในอีกด้านหนึ่งของบทบาทหน้าที่

                  ศาลรัฐธรรมนูญกลับถูกวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามอย่างยิ่ง กับอำนาจหน้าที่ในด้านอื่นๆ
                  โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันการเมือง
                  ต่างๆ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีอำนาจมากเกินไป หรือใช้อำนาจเกินกว่า

                  บทบาทหน้าที่ที่คาดหวังไว้หรืออำนาจหน้าที่ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่

                       จริงอยู่ว่า อำนาจหน้าที่ในกลุ่มของการตรวจสอบการใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ของ

                  สถาบันการเมืองดังกล่าว จะเป็นไปเพื่อการคุ้มครองให้สิ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นมีผลใช้
                  บังคับได้ก็ตาม แต่ในที่สุดแล้วผลลัพท์ออกมา คล้ายกับว่า ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่ทรง

                  อำนาจที่สุดในบรรดาองค์กรผู้ใช้อำนาจทั้งหลายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ในแทบทุก
                  การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นอยู่ในอำนาจพิจารณา
                  ของศาลรัฐธรรมนูญ จึงราวกับว่า ไม่ว่ารัฐสภาจะตรากฎหมายใด โดยเฉพาะกฎหมายที่จำเป็น

                  เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่ได้หาเสียงไว้และได้รับการเลือกตั้งเข้ามา กฎหมายนั้น



                     13   คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18 – 22/2555 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                  เล่ม 129 ตอนที่ 118 ก วันที่ 13 ธันวาคม 2555 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2557 ลงวันที่ 8 มกราคม 2557
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   15-18/2556 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนที่ 5 ก วันที่ 8 มกราคม
                  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนที่ 41 ก วันที่ 17 เมษายน 2557 และ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่

                  2557


                        ข่าว นิติราษฏร์อัดศาลรธน. ลุอำนาจเหยียดหยามปชช. ชี้ไม่มีอำนาจตัดสินคดี. เวบไซต์หนังสือพิมพ์ข่าวสด
                    14
                  : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5USXdOVEl3T1E9PQ==
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142