Page 136 - kpi17073
P. 136
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 135
ศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2557 ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญเนื่องจากเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซง
ในเรื่องการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมี
ตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ได้แก่ ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ของนายถวิล
เปลี่ยนศรี ซึ่งผลของคำวินิจฉัยนี้นำไปสู่การมีรัฐบาลรักษาการในระยะสั้นๆ ก่อนการรัฐประหาร
10
ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
นอกจากนี้อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยปัญหาทางรัฐธรรมนูญในการปฏิบัติหน้าที่ตาม
รัฐธรรมนูญของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์ ก็มีคำวินิจฉัย
เรื่องคำแถลงการณ์ร่วม ไทย - กัมพูชา เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของ
รัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ตาม คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6-7/2551 ซึ่งศาล
รัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า หากหนังสือสัญญาใดที่คณะรัฐมนตรีจะไปดําเนินการทํากับประเทศอื่น
หรือกับองค์การระหว่างประเทศมีลักษณะของหนังสือสัญญาที่อาจมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย
หรืออาจมีผลเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอํานาจ
ตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศก็ต้องนําหนังสือสัญญานั้นขอความเห็นชอบ
ของรัฐสภาก่อน ซึ่งมีผลให้ศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการวินิจฉัยเกินกว่าถ้อยคำที่
11
บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 12
ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกิจการพรรคการเมืองนั้น
ศาลรัฐธรรมนูญก็เคยวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่ได้คะแนนเสียงสูงที่สุดในการเลือกตั้ง
ได้แก่พรรคพลังประชาชน ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2551 และยังมีกรณีคำวินิจฉัยที่
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยที่นำไปสู่การเสียเปล่าของเลือกตั้งทั่วไปถึงสองครั้ง ครั้งแรก ได้แก่การ
เลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 และครั้งที่
สอง ได้แก่ การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตาม คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่
5/2557
และเรื่องที่อาจถือว่าอาจจะเป็นเหมือน “คำพิพากษาคดีอาชญากรสงครามที่ 1/2488 แห่ง
ยุคสมัยปัจจุบัน” ซึ่งจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการทบทวนเรื่องอำนาจในการตีความวินิจฉัย
ปัญหาทางรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายไทยต่อไปในอนาคต ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญ
ตีความขยายการบังคับใช้มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ให้รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา
ได้ด้วย ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้อำนาจผ่านทางมาตรา 68 นี้ในการตรวจสอบความชอบ
ด้วยรัฐธรรมนูญของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถึง
10 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2557 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สืบค้นจากเวบไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ
11 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6-7/2551 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125
ตอนที่ 108 ก วันที่ 10 ตุลาคม 2551
12 ดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (2552). ศาลเขียนรัฐธรรมนูญใหม่. จุดไฟในสายลม (รวมบทสัมภาษณ์). (กรุงเทพฯ : การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
Open book). หน้า 235 – 237