Page 135 - kpi17073
P. 135
134 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
นอกจากนั้นก็ยังปรากฏหลายครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ยกเอา “ข้อตกลง หรือกติการะหว่าง
ประเทศ” ขึ้นมาเทียบกับรัฐธรรมนูญประกอบการให้เหตุผลช่วยในการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายที่มีปัญหานั้น นอกจากจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ศาลรัฐธรรมนูญ
ต้องถือใช้เป็นหลักในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว ยังขัดหรือแย้งกับกติกา
ระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้รับรองแล้วอีกด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลรอง หรือเหตุผลสนับสนุน
ตัวอย่างเช่น ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15/2555 กรณีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิของคนพิการ
ในการสมัครเข้ารับราชการตุลาการนั้น นอกจากขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแล้ว ยังขัดต่อสิทธิของ
คนพิการในการเข้าทำงานบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่นตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของ
คนพิการขององค์การสหประชาชาติด้วย และในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2556 ที่ว่า
พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 บางมาตราขัดหรือ
แย้งต่อรัฐธรรมนูญ และไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง
การเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) เป็นต้น
8
จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ข้างต้นนั้น พอจะบ่งชี้ได้ในระดับหนึ่งว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มของการวินิจฉัยที่เป็นการ
คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น และมีการยอมรับหลักการคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพในระดับสากลมาเป็นเครื่องมือในการให้เหตุผลในคำวินิจฉัยด้วย ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการ
ที่ดีสำหรับบทบาทในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย อันเป็นบทบาทหน้าที่หลัก
ของศาลรัฐธรรมนูญ
บ บา นการ ร ส บการ ้ นา ละการป บั น้า สถาบันการเ า
้เป น ป า รั รร น
อย่างไรก็ตาม บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีที่มาจากอำนาจหน้าที่ในกลุ่มที่ว่าด้วยการ
ตรวจสอบความชอบด้วยความชอบด้วยสถานะและคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ระดับสูง อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยปัญหาทางรัฐธรรมนูญในการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และอำนาจหน้าที่ในการรักษาหลักเกณฑ์
สำคัญทางการเมืองการปกครองและกิจการพรรคการเมืองนั้น กลับเป็นอำนาจหน้าที่ที่ทำให้
ศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายเรื่อง
ได้ส่งผลกระทบ หรือเป็นจุดพลิกผันในทางการเมืองที่สำคัญหลายครั้ง เช่น การวินิจฉัยให้
นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งพ้นตำแหน่งไปถึงสองคน ได้แก่ วินิจฉัยความเป็น
นายกรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช ต้องสิ้นสุดลงตาม คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12-13/
2551 โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเป็นพิธีกรรายการ “ชิมไปบ่นไป” และรายการ
“ยกโขยงหกโมงเช้า” ให้บริษัทเอกชนโดยได้รับค่าตอบแทนการเป็นพิธีกรหรือบางครั้งได้รับเงิน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 8 9 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2556 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130
เพิ่มเป็นค่าจัดซื้อวัตถุดิบ นั้น มีลักษณะที่ถือว่าเป็น “ลูกจ้าง” รวมถึงกรณีตามคำวินิจฉัย
9
ตอนที่ 59 ก วันที่ 4 กรกฎาคม 2556
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 12-13/2551 ลงวันที่ 9 กันยายน 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม
125 ตอนที่ 122 ก วันที่ 29 พฤศจิกายน 2551