Page 130 - kpi17073
P. 130

ศาลรัฐธรรมนูญในฐานะผู้คุ้มครองรัฐธรรมนูญ

                            กับดุลยภาพทางการเมือง


                            กล้า สมุทวณิช*










                                  ในช่วงวิกฤตทางการเมืองที่กินเวลายาวนานเกือบสิบปี มาจนถึงภาวะ
                            ปัจจุบันที่คล้ายเป็นการพักชั่วคราวอยู่เนื่องจากผลของการรัฐประหารควบคุม
                            อำนาจการปกครองโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ อาจกล่าวได้ว่า

                            องค์กรที่ถูกกล่าวถึง วิพากษ์วิจารณ์ และเป็นเหมือน “ตัวละคร” สำคัญที่เข้ามา
                            มีบทบาทพลิกผันสถานการณ์และชะตากรรมทางการเมืองคือ “ศาลรัฐธรรมนูญ”


                                  โดยอาจกล่าวได้ว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่มาของจุดพลิกผัน
                            ทางการเมืองครั้งสำคัญมาตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเมืองเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.

                            2548 กล่าวโดยสรุป ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้นายกรัฐมนตรีพ้น
                            ตำแหน่งไปโดยทางตรงและทางอ้อมสามคน พรรคการเมืองใหญ่ที่ชนะการเลือก
                            ตั้งทั่วไปถูกยุบไปสองพรรค (ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มาจากขั้วอำนาจเดียวกัน)

                            ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปเป็นโมฆะเสียเปล่าโดยทางตรงและทางอ้อมสองครั้ง
                            รวมถึงการพิจารณาความชอบด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และวินิจฉัย

                            ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นเป็นไปโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญสองครั้ง
                            นอกจากนี้ยังวินิจฉัยให้ร่างพระราชบัญญัติที่รัฐบาลตราขึ้นตามนโยบายสำคัญที่
                            ได้หาเสียงไว้ต่อประชาชนตกไปด้วยหนึ่งฉบับ


                                  คำวินิจฉัยที่มีผลเป็นนัยสำคัญทางการเมืองในเรื่องต่างๆ เหล่านั้นเอง

                            ก่อให้เกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับฝ่าย
                            การเมือง คือรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งประชาชนผู้สนับสนุนฝ่าย

                            การเมืองที่ได้รับผลอันเป็นโทษจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ นำไปสู่คำถาม
                            และข้อเสนอให้ทบทวนเกี่ยวกับของเขตอำนาจหน้าที่ และบทบาทอันแท้จริงของ
                            ศาลรัฐธรรมนูญที่ควรจะมีหรือควรจะเป็น รวมไปถึงคำถามเบื้องต้นที่สุด

                            คือความจำเป็นที่จะต้องมีศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในระบบกฎหมายและการเมืองไทย
                            ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโจทย์สำคัญในการทบทวนเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปใหญ่ในครั้งนี้



                              *  นักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญปฏิบัติการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135