Page 134 - kpi17073
P. 134
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 133
หลักในการริบทรัพย์สินในทางอาญา เป็นการใช้มาตรการลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าความจำเป็นและ
เป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลเกินสมควร 5
บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นมาชัดเจนโดดเด่น
ขึ้นอย่างยิ่งในสมัยของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
กล่าวคือ ศาลรัฐธรรมนูญได้วางหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญไปในแนวทางที่
ค่อนไปทางคุ้มครองสิทธิของประชาชนเป็นหลัก เช่นแนวทางการวินิจฉัยที่ว่า บทบัญญัติแห่ง
กฎหมายที่เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ดุลยพินิจได้กว้างขวางจนละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ก็ถือว่า
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน เช่น ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15/2555 ได้วินิจฉัย
ว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 26 (10)
เฉพาะข้อความที่ว่า “...กายหรือจิตไม่เหมาะสม...” เป็นถ้อยคำที่เปิดโอกาสให้คณะกรรมการที่
มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าสอบ ใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง โดยมิได้
กำหนดว่ากายหรือจิตในลักษณะใดเป็นความไม่เหมาะสม จนไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของ
ตุลาการได้ จึงขัดต่อหลักการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความ
พิการตามรัฐธรรมนูญ และขัดต่อสิทธิของคนพิการในการเข้าทำงานบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับ
บุคคลอื่นตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการขององค์การสหประชาชาติ จึงเป็นบทบัญญัติที่มี
6
ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 13/2556 ที่วินิจฉัยว่า
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 30 เฉพาะในส่วนที่
มิได้กำหนดให้การประปาส่วนภูมิภาคมีการชดใช้ค่าทดแทนในการใช้ที่ดินให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองที่ดินในกรณีที่มีการวางท่อน้ำที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึงแปดสิบเซนติเมตรไว้
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพราะบทบัญญัติดัง
กล่าวทำให้เกิดการตีความและยึดถือเป็นหลักกฎหมายว่า ถ้าท่อน้ำที่การประปาส่วนภูมิภาคนำมา
เดินในที่ดินนั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึงแปดสิบเซนติเมตรแล้วก็ไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่
7
เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่เอกชน คำวินิจฉัยเรื่องหลังนี้ยังเป็นคำวินิจฉัย
ที่ถือว่าเป็นบ่อเกิดแห่งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชนที่มีที่มาจากการรับรองของ
ศาลรัฐธรรมนูญเรื่องแรก เพราะรัฐธรรมนูญนั้นกำหนดให้รัฐจะต้องต้องชดใช้ค่าทดแทนแก่
เจ้าของที่ดินเฉพาะกรณีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โดยศาลรัฐธรรมนูญได้อ้าง
“หลักนิติธรรม” ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 วรรคสอง ที่มีการบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ
ปี 2550 มาใช้เป็นที่มาของการรับรองสิทธิของบุคคลเพิ่มเติมว่าหากรัฐจะเข้าใช้ทรัพย์สินของ
ประชาชนโดยวิธีการอื่นที่มิใช่การเวนคืน คือกรรมสิทธิ์ยังเป็นของบุคคลนั้นแต่รัฐอาจเพียงรอน
สิทธิไป รัฐก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าทดแทนตามสมควรอยู่เช่นกัน
5 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 30/2548 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม
122 ตอนที่ 96 ก วันที่ 17 ตุลาคม 2548
6 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 15/2555 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129
ตอนที่ 100 ก วันที่ 18 ตุลาคม 2555
7 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 13/2556 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
ตอนที่ 2 ก วันที่ 6 มกราคม 2557