Page 131 - kpi17073
P. 131
130 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
1. ต้นกำเนิดของศาลรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายและการเมืองไทย
“ศาลรัฐธรรมนูญ” ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์กรตุลาการที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดี
รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกในระบบการเมืองและกฎหมายไทยมานับตั้งแต่การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แม้จะเคยมีการยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญลงครั้งหนึ่งและ
กลับไปใช้รูปแบบตุลาการรัฐธรรมนูญในระยะสั้นๆ เมื่อมีการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19
กันยายน 2549 แต่อย่างไรก็ตามในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรหลังจากนั้น คือรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ยังคงสถาปนา “ศาลรัฐธรรมนูญ” กลับมาอีกครั้งหนึ่ง
แม้กระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไปด้วยการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่ก็มิได้ยกเลิกสถานะความเป็นองค์กรตุลาการของ
ศาลรัฐธรรมนูญ และยังได้รับรองให้ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ที่ประกาศใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน (กันยายน
2557)
แม้คำว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” อาจจะเป็นคำใหม่ หรือเหมือนองค์กรศาลใหม่ ที่เพิ่งปรากฏ
เมื่อปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาก็ตาม แต่อันที่จริงแล้วศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่ “ของใหม่” ที่จัดวาง
ลงมาในพื้นที่ทางกฎหมายและการเมืองการปกครองไทยโดยไม่เคยมีบริบทแวดล้อมหรือปราศจาก
ประวัติศาสตร์ก็หาไม่ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวิวัฒนาการที่สอบทานย้อนกลับไปได้ถึง
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่สถาปนาขึ้นจากจุดเริ่มต้นมาจากความขัดแย้งระหว่างองค์กรทาง
การเมืองครั้งแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากการที่ศาลฎีกาได้ใช้อำนาจตีความว่า
ในกรณีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้องค์กรไหนมีอำนาจในการพิจารณาปัญหาว่าบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไว้เป็นอื่น อำนาจดังกล่าวจะถือเป็นอำนาจของ
ศาลยุติธรรมที่จะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดี ปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาใน
คดีอาชญากรสงครามที่ 1/2489 ที่พิพากษาให้พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488
เฉพาะที่บัญญัติลงโทษการกระทำก่อนวันใช้พระราชบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเป็นโมฆะ
คำพิพากษานี้ทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ที่แม้จะยอมรับคำพิพากษา
นั้นด้วยความเคารพต่อศาลฎีกาก็ตาม
เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ก็ได้บัญญัติ
ให้มีองค์ขึ้นมาทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เรียกว่า
“คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว โดยยังสงวนสิทธิให้รัฐสภาทรงไว้
ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ในกรณีที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นว่า
บทกฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ก็ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไว้ชั่วคราว
แล้วให้รายงานความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการไปยังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ถูกวางรูปแบบให้
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 เป็นองค์กรกึ่งการเมือง ประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐสภาแต่งตั้งขึ้น การตั้งคณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญนี้จึงคล้ายเป็น “องค์กรกลาง” ที่ตั้งขึ้นเพื่อขจัดทั้งปัญหาที่ศาลยุติธรรมล่วงเข้ามาใช้
อำนาจตีความรัฐธรรมนูญซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในสมัยนั้นให้เป็นอำนาจของฝ่ายรัฐสภา