Page 141 - kpi17073
P. 141

140     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                   1   ้ เสน เก    กับ  นา  น้า    นการ  ้  ร  ส    เสร  าพ   ประ า น    ้ถ กละเ
                   ากบ บั  ั      ก   า     ั  ร    ้    รั  รร น


                       ได้แก่ อำนาจในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เห็นว่า
                  อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 สามารถคุ้มครองสิทธิ
                  และเสรีภาพของประชาชนโดยไม่รบกวนต่อการดำเนินกระบวนยุติธรรมในทางศาลไม่ให้ล่าช้าจน

                  เกินสมควรอยู่แล้ว เว้นแต่สมควรเพิ่มบทบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไข
                  วิธีการสิ้นผลไปของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้มากขึ้น เพื่อประโยชน์

                  ในการใช้บังคับกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดินสามารถเป็นไปได้โดยต่อเนื่องไม่ติดขัด
                  รวมทั้งมีบทบัญญัติในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายที่มีโทษอาญานั้นขัดหรือแย้งต่อ
                  รัฐธรรมนูญว่าให้สิ้นผลบังคับต่อไปอย่างไรให้ชัดเจนขึ้น ในการนี้รวมถึงยังควรให้มีอำนาจในการ

                  วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน
                                                            18
                  และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  กับอำนาจในการพิจารณากรณีร้องทุกข์ทาง
                  รัฐธรรมนูญของบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย

                       ้ เสน เก    กับ  นา  น้า    นการ ร  ส บการ  ้  นา  ละการป  บั   น้า

                  สถาบันการเ      า     ้เป น ป า รั  รร น   เ  นส   ร  การ บ  น นเร        ปน

                       (ก) ในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกระบวนการตราขึ้นใช้บังคับของร่าง
                  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ สมควรทบทวนอำนาจในการเสนอ

                  คำร้องของสมาชิกรัฐสภา ให้สามารถขอให้ตรวจสอบได้เพียงในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติจะไป
                  กระทบกระเทือนต่อหลักการสำคัญของรัฐ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ความเป็นอิสระของ

                  ตุลาการ ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ และเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเท่านั้น เพื่อ
                  ป้องกันมิให้มีการใช้กลไกการตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติของศาลรัฐธรรมนูญไปเพื่อหวังผลใน
                  ทางการเมือง หรือเป็นเทคนิคในทางการเมืองเพื่อขัดขวางเหนี่ยวรั้งการบริหารประเทศของรัฐบาล

                  ที่มีที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชนจนเกินไป


                       (ข) ศาลรัฐธรรมนูญควรมีอำนาจในการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการแก้ไข
                  เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีสิทธิตรวจสอบในเนื้อหาการแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎีอำนาจ
                  สถาปนารัฐธรรมนูญ เนื่องจากแม้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญจะเป็นของประชาชน แต่บรรดา

                  “ผู้แทน” ที่ได้รับอำนาจสถาปนาจากผู้เป็นเจ้าของอำนาจสถาปนานั้น จะใช้อำนาจดังกล่าว
                  “ถูกวิธี” หรือไม่ โดยที่การตรวจสอบเฉพาะกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ก็ไม่

                  ถือว่าเป็นการตรวจสอบอำนาจสถาปนาด้วย เพราะอำนาจสถาปนาคืออำนาจในการเขียน
                  “เนื้อหา” ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่ก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจในส่วนนี้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา
                  เพียงว่า ผู้ได้รับอำนาจสถาปนาที่ได้รับการสืบทอดมานั้น ได้ใช้อำนาจนั้นตามวิธีการที่ “สืบทอด”
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   สาธารณรัฐตุรกี มาตรา 148
                  อำนาจสถาปนาที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งรูปแบบนี้จะเป็นรูปแบบเดียวกับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของ






                        ในกรณีที่รัฐธรรมนูญในอนาคตเห็นสมควรให้คงองค์กรนี้ต่อไป
                    18
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146