Page 144 - kpi17073
P. 144
องค์กรอิสระ :
ดุลแห่งอำนาจในระบบการเมืองการปกครองของไทย
ปัทมา สูบกำปัง*
นับถึงปัจจุบันประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นเวลา
รวมกว่า 82 ปี ในวิถีทางประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
(Sovereignty) เป็นของประชาชนหรือปวงชน แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น
ทั้งๆที่กฎหมายสูงสุดฉบับแรกรับรองไว้โดยชัดแจ้งว่า “อำนาจสูงสุดของ
1
ประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” แต่ในความเป็นจริงแล้ว การออกแบบ
การเมืองการปกครองและการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศนั้นผูกขาด
อยู่กับชนชั้นนำหรือชนชั้นผู้ปกครอง ซึ่งเข้าสู่อำนาจรัฐด้วย 2 เส้นทางหลักคือ
การเลือกตั้งที่มีปัญหาเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ยุติธรรมมาโดยตลอด และการ
ยึดอำนาจโดยการปฏิวัติหรือรัฐประหาร
บทเรียนจากการออกแบบการเมืองการปกครองไทยในระบบรัฐสภา
ช่วงเวลา 65 ปีก่อนมีการปฏิรูปการเมือง คือการใช้อำนาจรัฐโดยผู้แทนปวงชน
ที่มาจากการเลือกตั้ง หรือคณะปฏิวัติรัฐประหารที่เบียดแทรกเข้ามาใช้อำนาจรัฐ
อยู่บ่อยครั้ง ยังมิได้สนองตอบต่อความต้องการหรือเป็นไปเพื่อประโยชน์ของ
ชาติและประชาชนโดยส่วนรวม รัฐบาลไร้เสถียรภาพ ขาดประสิทธิภาพและ
ความต่อเนื่อง มีความอ่อนแอในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐสภาขาด
ประสิทธิภาพในด้านการออกกฎหมายและการควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหาร
กลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารไม่สามารถ
ทำให้เกิดความรับผิดชอบทางการเมืองหรือทางกฎหมายได้ ฝ่ายตุลาการ
ไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือการทุจริตคอร์รัปชั่นและลงโทษ
* นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
1 มาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช
2475