Page 143 - kpi17073
P. 143

142     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  มาตรา 237 แห่งรัฐธรรมนูญนั้น ก็อาจทบทวนให้เป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อ
                  ให้ระบบการวินิจฉัยชี้ขาดในคดีเลือกตั้งเป็นระบบเดียวกันเป็นเอกภาพทั้งหมด รวมถึงเรื่องการยุบ

                  พรรค หรือสั่งให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
                  ด้วย ซึ่งการเปลี่ยนให้เป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งนี้ อาจเทียบเคียงกับกรณีที่
                  รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ได้ปรับเปลี่ยนให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

                  นั้นรับพิจารณาคดีเกี่ยวกับการไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือการยื่นบัญชี
                  แสดงทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ที่เดิมเคยเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

                  เนื่องจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
                  คดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่แล้วก็ได้



                  บทสรุป



                       จากการศึกษาพบว่า แนวโน้มของศาลรัฐธรรมนูญจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดต่อ
                  การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มีความก้าวหน้าในการยอมรับสิทธิเสรีภาพในระดับที่

                  เป็นสากล และวินิจฉัยในทางรับรองคุ้มครองสิทธิของประชาชนเพิ่มเติมจากที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
                  แต่ผลงานอันดีงามและก้าวหน้าต่างๆ ของศาลรัฐธรรมนูญที่กล่าวมานั้น ก็ถูกบดบังด้วยบทบาท
                  ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในทางการเมืองภายใต้ภาวะวิกฤติทางการเมืองที่กินเวลายาวนานเกือบสิบปี

                  โดยที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากผลของความขัดแย้งดังนี้เอง
                  แม้ว่าเหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะสมเหตุสมผล หรือเรื่องที่วินิจฉัยนั้นอยู่ใน

                  ขอบเขตอำนาจโดยแท้จริงของศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ในเมื่อเรื่องที่วินิจฉัยนั้นจะส่งผลได้ผลเสีย
                  ทางการเมือง ประกอบกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเองก็ทำให้ฝ่ายการเมืองไม่ว่าจะฝ่ายใด
                  สามารถใช้กระบวนการร้องคดีรัฐธรรมนูญเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมืองได้ ดังนี้ไม่ว่าจะ

                  ในทางใด หากอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญยังคงมีอยู่ในลักษณะเช่นเดิม การที่ศาล
                  รัฐธรรมนูญจะถูกโจมตี การถูกผลักไปเป็นฝ่ายตรงข้ามกับประชาชนส่วนหนึ่ง ตลอดจนข้อเรียก

                  ร้องให้ทบทวนเกี่ยวกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปไม่จบสิ้น

                       ข้อเสนอทั้งหมดข้างต้นนี้ จึงเป็นไปเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญยังคงดำรงอยู่ได้ในฐานะของ

                  องค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ผู้คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการรักษาไว้ซึ่งหลักการ
                  พื้นฐานของรัฐธรรมนูญ โดยไม่กระทบกระเทือนต่อดุลยภาพทางการเมือง หรือไม่ตกเป็น
                  คู่ขัดแย้ง หรือเป็นกลไกที่กลายเป็นตัวช่วยในการต่อสู้ทางการเมืองของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทั้งสิ้น ทั้งนี้

                  เพื่อความสถิตอยู่อย่างยั่งยืนต่อไปในพื้นที่ทางกฎหมาย ได้รับการยอมรับจากประชาชนภายใต้
                  บรรยากาศของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยต่อไปในอนาคต



        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148