Page 148 - kpi17073
P. 148

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   147


                            ประเด็นท้าทายสำหรับการสถาปนาองค์กรอิสระในโครงสร้างอำนาจรัฐไทย คือ ความ
                      ชอบธรรมในการเข้าสู่ตำแหน่งขององค์กรอิสระ การแสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ หลักประกันความ

                      เป็นอิสระและเป็นกลาง รวมถึงการถูกตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ ทั้งนี้ ประเด็นโต้แย้งในเชิง
                      หลักการที่สำคัญคือความรับผิดชอบที่เป็นรูปธรรม ในกรณีที่ไม่สามารถแสดงบทบาทให้เห็น
                      ผลสัมฤทธิ์ตามกรอบที่ได้รับมอบตามความชำนาญเฉพาะด้านได้ หรือการขัดต่อหลักการแบ่งแยก

                      อำนาจอธิปไตย (Separation of Powers) เนื่องจากมีการรวมศูนย์อำนาจบริหาร การออกกฎเกณฑ์
                      และการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทไว้ที่องค์กรเดียว ซึ่งการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีหมวด  11

                      องค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น นับเป็นกติกาสูงสุดทางการเมืองที่ยอมรับองค์กรอิสระในโครงสร้าง
                                               2
                      อำนาจรัฐของประเทศไทย  ทั้งนี้ อาจก่อให้เกิดการตีความว่าองค์กรอิสระมีสถานะเทียบเท่ากับ
                      องค์กรหลักที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 องค์กร คือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล อีกทั้งมีคำถาม

                      ต่อเนื่องถึงความชอบธรรม (Legitimacy) ในการใช้อำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจชี้ขาดที่
                      กระทบต่อเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน คืออำนาจสั่งให้เลือกตั้งใหม่และเพิกถอนสิทธิ

                      เลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือ “อำนาจให้ใบเหลือง-ใบแดง” ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง
                      หรืออำนาจตรวจสอบผู้แทนปวงชนที่มาจากการเลือกตั้งที่เข้าไปทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนของเจ้าของ
                      อำนาจอธิปไตยในด้านการจัดทำนโยบายสาธารณะ การบริหารราชการแผ่นดิน การออกกฎหมาย

                      หรือแม้แต่การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่เกี่ยวโยงถึงอำนาจของรัฐสภาและศาลด้วย  ในส่วนของ
                      องค์กรอิสระด้วยกันก็มีปัญหาทับซ้อนหรือปัญหาในความสูงสุดเด็ดขาดในการดำเนินการหรือ

                      วินิจฉัย ชี้ขาด ยิ่งกว่านั้นบางกรณีมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและเจตจำนงของประชาชนผู้เป็น
                      เจ้าของอำนาจอธิปไตยด้วย


                            ตลอดช่วงเวลา 17 ปีของการมี “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” และ “คณะกรรมการป้องกัน
                      และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ” เป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างอำนาจรัฐของไทย มีทัศนะ มุมมอง

                      หรือข้อเสนอทางวิชาการจำนวนมากเกี่ยวกับองค์กรทั้งสอง ประเด็นสำคัญคือองค์กรอิสระ
                      ซึ่งหมายความรวมถึง “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” และ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
                      การทุจริตแห่งชาติ” ควรมีอยู่ต่อไปหรือไม่ องค์กรทั้งสองสามารถแสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ได้

                      สอดคล้องและบรรลุเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือจำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุง รวมไปถึง
                      ปฏิรูปองค์กรดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ ความต่างในมุมมองหรือทัศนะต่อ “ประชาธิปไตย”

                      ทั้งในนิยาม ความหมาย หลักการ หรือเนื้อหาสาระมีผลต่อคำตอบดังกล่าวทั้งสิ้น

                          2   ในสหรัฐอเมริกา มีการโต้แย้งว่าการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ “เป็นโมฆะ ขัดกับรัฐธรรมนูญ” ซึ่ง
                      กำหนดให้อำนาจบริหารเป็นของประธานาธิบดี หน่วยงานทุกหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นและมีลักษณะเป็น “บริหาร”
                      (executive) จึงต้องขึ้นอยู่กับอำนาจบังคับบัญชาของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ซึ่งรวมกันเป็นคณะรัฐมนตรีที่อยู่ภายใต้
                      การสั่งการโดยตรงของประธานาธิบดี นอกจากนี้ยังเป็นการไม่เคารพหลักการแบ่งแยกอำนาจเพราะเป็นองค์กรที่ไม่
                      ขึ้นกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญใดๆ เลย และมีอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการและอำนาจบริหารรวมกันอยู่ใน
                      องค์กรเดียว แต่ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกามีคำพิพากษาในคดี Humphrey’s Executor v.s. United State ตัดสิน
                      รับรู้การดำรงอยู่ขององค์กรอิสระของรัฐ หรือ Independent Regulatory Agency โดยสภาคองเกรสมีเจตนาชัดแจ้ง
                      ที่จะสถาปนาองค์กรที่เป็นอิสระจากอำนาจบริหาร แม้ว่าจะยังอยู่ในสังกัดของฝ่ายบริหารก็ตาม การปฏิบัติหน้าที่ของ
                      คณะกรรมการการค้า (Federal Trade Commission) โดยอิสระ ไม่สนใจว่าฝ่ายบริหารจะยินยอมด้วยหรือไม่ จึงไม่  การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
                      ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจถอดถอนคณะกรรมการการค้าออกจากตำแหน่งก่อนครบ
                      วาระโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามที่กฎหมายกำหนดไว้ อ้างอิงจากวิษณุ  วรัญญู, 2538.
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153