Page 150 - kpi17073
P. 150
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 149
คือการตรวจสอบและดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้บริหารระดับสูง ซึ่ง
พัฒนารูปแบบและกระบวนการไปสู่การทุจริตเชิงนโยบาย หรือการทับซ้อนระหว่างผลประโยชน์
ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interest) ซึ่งมิได้จำกัดขอบเขตอยู่ภายในประเทศ
เท่านั้น
กล่าวโดยสรุป การกำหนดให้ ก.ก.ต. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้าง
อำนาจรัฐมีปัญหาเกี่ยวกับดุลยภาพระหว่างองค์กรอิสระดังกล่าวกับองค์กรในโครงสร้างอำนาจรัฐ
อื่นๆ รวมถึงประชาชน ปัญหาเกี่ยวกับไม่เชื่อมั่นในความชอบธรรมของการมีและใช้อำนาจของ
ก.ก.ต. และหรือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นวิกฤติการณ์ที่กระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตย
ดังนั้น ในการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไปนี้ ต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ทบทวนเพื่อปรับดุลยภาพ
ระหว่างองค์กรในโครงสร้างอำนาจรัฐทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนขององค์กรอิสระ
มีประเด็นศึกษาวิเคราะห์ดังนี้
1. การสถาปนาองค์กรอิสระไว้ในรัฐธรรมนูญ
กับหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย
ประเด็นคำถามหลักของการสถาปนาองค์กรอิสระไว้ในรัฐธรรมนูญ มี 2 ส่วน คือ 1. ขัดกับ
หลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย (Separation of Powers) ออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งมีรัฐสภาใช้
อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจบริหาร และศาลใช้อำนาจตุลาการ? และ 2. การให้
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจทั้งการออกกฎเกณฑ์การปฏิบัติ การบริหารจัดการเลือกตั้ง
และการวินิจฉัยชี้ขาด การเลือกตั้งเป็นการมอบอำนาจทั้งนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการไว้ที่
องค์กรเดียว?
หลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยของมองเตสกิเออ (Montesquier)แบ่งแยกอำนาจ
นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการออกจากกัน เพื่อเป็นหลักประกันในสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ให้อำนาจอธิปไตยทั้งสามตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน มิให้อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่องค์กรใด
องค์กรหนึ่ง แต่ใช้หลักการอำนาจยับยั้งอำนาจ (นิยม รัฐอมฤต และคณะ, 2552) องค์กรผู้ใช้
อำนาจอธิปไตยที่ถูกแบ่งแยกออกเป็น 3 ด้านดังกล่าวมีสถานะเป็น “องค์กรอำนาจของผู้ใช้”
(Power User) คือผู้ปกครองและผู้ใช้โดยตรง ซึ่งสังคมไทยมีบทเรียนจากอดีตที่เคยใช้
รัฐธรรมนูญมาแล้ว 15 ฉบับ จึงเกิดการปฏิรูปการเมืองการปกครอง โดยออกแบบกลไกอำนาจ
ขึ้นมาใหม่ในรูปขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยมีฐานะเป็น “องค์กรอำนาจของผู้ตรวจสอบ”
(Power Sensor)และ “องค์กรอำนาจของผู้กำกับและเรียกร้อง” (Power Monitor) ที่แยกเป็น
อิสระออกต่างหากจาก “องค์กรอำนาจของผู้ใช้” (Power User) (เชาวนะ ไตรมาศ, 2545)
ทั้งนี้ แนวคิดการกำหนดให้มีองค์กรอิสระเพื่อเป็นกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐก็เพื่อ
ต้องการรักษาสมดุลของระบบรัฐสภาที่รัฐสภาไม่สามารถควบคุมตรวจสอบรัฐบาลได้ (สุรพล
นิติไกรพจน์, 2556) รัฐประชาธิปไตย (Democratic State) มีการแบ่งแยกอำนาจแต่ผู้ชนะ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
การเลือกตั้งได้ไปสองอำนาจ ขาดการคานอำนาจกัน จึงมีแนวคิดใหม่ให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ใน