Page 151 - kpi17073
P. 151

150     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  การตรวจสอบ ซึ่งเรียกว่า “Regulator” เพราะองค์กรในฝ่ายบริหารไม่สามารถแสดงบทบาท
                  ในการตรวจสอบได้จริง (โคทม  อารียา, 2556) การเกิดขึ้นขององค์กรอิสระเป็นนวัตกรรมทาง

                  ความคิดใหม่ สร้างอำนาจที่สี่ เป็นอำนาจพิเศษเฉพาะ เพราะฐานอำนาจที่มีทั้งสามฝ่ายมีความไม่
                  สมบูรณ์ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง  (เมธี  ครองแก้ว, 2556) องค์กรอิสระเป็นอำนาจ
                  ที่สี่ คืออำนาจตรวจสอบฝ่ายบริหาร ซึ่งแต่เดิมเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารแต่สังคมไม่เชื่อถือ

                  ไม่ไว้วางใจว่าหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายมใต้การควบคุมสั่งการโดยรัฐบาลจะสามารถทำหน้าที่ได้
                  อย่างอิสระ เป็นกลาง ตรงไปตรงมา ดังนั้นจึงโอนอำนาจสำคัญๆ เช่น การจัดการเลือกตั้ง

                  การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไปให้องค์กรอิสระ โดยมุ่งไปที่การตรวจสอบฝ่ายบริหาร
                  (กำชัย  จงจักรพันธ์, 2556)


                       การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ (สภา) ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) และฝ่าย
                  ตุลาการ (ศาล) เป็นการแบ่งแยกหน้าที่ (แบ่งงานกันทำภายใต้อำนาจเดียว) เพื่อมิให้อำนาจ

                  อธิปไตยอยู่กับฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียว เพราะจะเป็นเผด็จการ จึงแบ่งองค์กรต่างๆ ให้ทำหน้าที่โดย
                  ถ่วงดุลตรวจสอบ ไม่ให้ฝ่ายใดรวบอำนาจอธิปไตยทั้งหมด (วิษณุ เครืองาม, 2556) ซึ่งตาม
                  ระบบการปกครองแบบรัฐสภา (Parliamentary System)ของไทยมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย

                  โดยที่ยอมรับว่าสภานิติบัญญัติมีอำนาจควบคุมการจัดการราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็น
                  “อำนาจบริหาร” มิใช่ “อำนาจนิติบัญญัติ” และยอมรับว่าฝ่ายบริหารมีอำนาจตราพระราชกำหนด

                  อันเป็น “อำนาจนิติบัญญัติ” มิใช่ “อำนาจบริหาร” (บวรศักดิ์  อุวรรณโณ, 2547)

                       จึงอาจสรุปได้ว่าการสถาปนาองค์กรอิสระไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นมิได้กระทบต่อหลักการ

                  แบ่งแยกอำนาจอธิปไตยแต่อย่างใด การอ้างอิงและการใช้อำนาจขององค์กรอิสระก็มิได้มีประเด็น
                  โต้แย้งต่อศาลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นดังกล่าว  แม้มีคำถามหรือข้อวิพากษ์ทางวิชาการโต้แย้ง

                  ต่ออำนาจขององค์กรอิสระก็เป็นประเด็นปลีกย่อยอื่นที่เกี่ยวกับกรอบอำนาจขององค์กรอิสระ
                  ซึ่งที่สุดศาลได้วินิจฉัย ชี้ขาดไว้เป็นแนวบรรทัดฐาน (Precedent) ไว้แล้ว อนึ่ง ย้อนกลับไปเมื่อ
                  แรกเริ่มกำหนดให้มีองค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญไทยก็ด้วยเหตุผลว่าเพื่อสถานะที่มั่นคงและการไม่

                  ถูกยกเลิกโดยง่าย โดยมีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่งเท่านั้น (วิษณุ วรัญญู, 2538)
                  ซึ่งมีนัยยะสำคัญต่อไปคือองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งมิติหนึ่งคือผู้ตรวจสอบองค์กรอำนาจรัฐอื่นๆ แต่ใน

                  อีกมิติก็ต้องอยู่ภายใต้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจด้วยเช่นกัน เพราะเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจ
                  รัฐเช่นกัน



                  2.  โครงสร้าง ที่มา องค์ประกอบและกระบวนการสรรหาแต่งตั้ง

                    ก.ก.ต. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.



                       เจตนารมณ์ของการจัดตั้งองค์กรอิสระ ในที่นี้หมายถึง ก.ก.ต. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   เพื่อให้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้โดยอิสระ เป็นกลาง ปราศจากการแทรกแซง

                  จากฝ่ายใดๆ
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156