Page 146 - kpi17073
P. 146

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   145


                      ศาลปกครองอยู่ในหมวด 8 ศาล  อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญ
                      พ.ศ.2550 องค์กรอิสระยังคงเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างอำนาจรัฐของไทย โดยกำหนดให้มีหมวด

                      ที่ว่าด้วยองค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ คือหมวด 11 แบ่งเป็นส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตาม
                      รัฐธรรมนูญ และส่วนที่ 2 องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ส่วนศาลอยู่ในหมวด 10 ว่าด้วยเรื่องศาล
                      ทั้งสามศาล


                            จากเจตนารมณ์ที่ต้องการให้องค์กรอิสระเป็นกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำให้

                      การเมืองการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ดำเนินไปด้วย
                      ความสุจริตและชอบธรรม พิจารณาในเชิงกระบวนการจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กร
                      อิสระที่รับผิดชอบในการตรวจสอบตั้งแต่ด่านแรกของการเข้าสู่อำนาจรัฐ นั่นคือ คณะกรรมการ

                      การเลือกตั้งซึ่งมีบทบาทอำนาจหน้าที่หลักในการบริหารจัดการเลือกตั้ง และตรวจสอบการ
                      เลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม เมื่อผ่านเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองหรือเข้าไปใช้

                      อำนาจรัฐด้านต่างๆ ก็จะมีองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในมิติต่างๆ กล่าวคือ คณะกรรมการ
                      ตรวจเงินแผ่นดินรับผิดชอบในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เป็นไปโดยถูกต้องและ
                      เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจ

                      สอบกรณีประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ แม้ว่าจะเป็นไป
                      โดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ในด้านการ

                      ติดตามตรวจสอบการละเมิดสิทธิเสรีภาพ รวมถึงสิทธิมนุษยชนหรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
                      ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลอื่นๆ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
                      มีอำนาจหน้าที่สอบสวนหรือไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การถอดถอน (Impeachment) ผู้ดำรง

                      ตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงออกจากตำแหน่ง การพิจารณาคดีอาญากับผู้ดำรง
                      ตำแหน่งทางการเมืองโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือ

                      การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเพื่อนำไปสู่การตัดสิทธิทางการเมืองหรือการสั่งให้ทรัพย์สิน
                      ตกเป็นของแผ่นดิน รวมทั้งการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการที่มีศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ
                      เข้ามาเพิ่มในส่วนของการตรวจสอบด้วยกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจากเดิมเรามีเพียงศาลยุติธรรม

                      เท่านั้น


                            จากระบบรัฐสภาแบบดั้งเดิมที่แบ่งองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเป็น 3 ส่วนหลัก ซึ่งประสบ
                      กับปัญหาการจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจ และการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกันหลาย
                      ประการ   เมื่อเพิ่มองค์กรอิสระเข้าไปในโครงสร้างอำนาจรัฐในช่วงเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านมา

                      ประเทศไทยยังคงประสบกับปัญหาการขาดดุลยภาพในระบอบการเมืองการปกครองและการใช้
                      อำนาจรัฐ องค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐมีมากขึ้น องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมีมากขึ้น ในขณะที่

                      ประสิทธิภาพประสิทธิผลหรือสัมฤทธิ์ผลที่เกิดขึ้นยังคงไม่ปรากฏชัด ยิ่งกว่านั้นการขาดสมดุลหรือ
                      ดุลยภาพในโครงสร้างอำนาจรัฐ ซึ่งองค์กรอิสระไม่สามารถใช้อำนาจเพื่อคลี่คลายหรือแก้ไขปัญหา
                      ได้ หรืออาจเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหาวิกฤตมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องศึกษา

                      วิเคราะห์เพื่อการพัฒนาองค์กรอิสระให้เป็นกลไกซึ่งสามารถแสดงศักยภาพในการตรวจสอบการ
                      ใช้อำนาจรัฐ ภายในกรอบโครงสร้างระบบการเมืองการปกครองที่เน้นการจัดโครงสร้างความ                      การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151