Page 142 - kpi17073
P. 142
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 141
(ค) อำนาจหน้าที่ซึ่งเกี่ยวกับการตรวจสอบสถานะและคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง การยุบพรรคการเมือง และเรื่องอื่นๆ เห็นว่าควรมีการทบทวนว่า อำนาจหน้าที่
ดังกล่าวเหล่านั้นจำเป็นที่จะต้องเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือจะให้เป็นอำนาจของ
องค์กรอื่นๆ ที่มีอำนาจอันเกี่ยวข้องอยู่แล้ว รวมทั้งบางเรื่องก็อาจถือเป็นอำนาจของฝ่ายการเมือง
ในการตรวจสอบควบคุมกันเอง หรือการใดที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องการทุจริตหรือกระทำความผิดตาม
กฎหมายอื่นใด ก็ควรเป็นอำนาจในการการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประกอบ
พิจารณาวินิจฉัยของศาลและกระบวนยุติธรรมที่มีอำนาจในเรื่องนั้น เช่นกรณีการสิ้นสุดสถานภาพ
ของสมาชิกรัฐสภา หรือความเป็นรัฐมนตรี การสิ้นสถานะภาพ หรือการมีลักษณะต้องห้ามที่
ประจักษ์โดยผลของกฎหมายในกรณีต้องคำพิพากษาให้จำคุก กรณีล้มละลาย ก็ให้เป็นอำนาจที่
ศาลยุติธรรมพิพากษา และสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือกรณีการสิ้นสมาชิกภาพในบางลักษณะ
เป็นสิ่งที่รัฐสภาควรจะวินิจฉัยในเรื่องนั้นเองได้ เช่น กรณีการขาดประชุมสภาเกินสมควร เพราะ
เป็นเรื่องของการดำเนินการภายในของรัฐสภาโดยแท้
ส่วนการสิ้นสถานภาพบางประการในเหตุที่ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์
บ้าง หรือการกระทำที่ขัดต่อจริยธรรมของการดำรงตำแหน่งบ้างนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า ควรกลับไปใช้
หลักทั่วไปของการปกครองในรูปแบบรัฐสภา ตามลักษณะของการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กล่าวคือ ให้ถือเป็นอำนาจของรัฐสภาที่เป็น
ตัวแทนของประชาชนเช่นกัน ในการที่จะให้ความไว้วางใจให้สมาชิกรัฐสภาผู้นั้น หรือรัฐมนตรีคน
นั้น ดำรงตำแหน่งต่อไปได้หรือไม่ เพียงใด โดยอาศัยกระบวนการในลักษณะของการลงมติไว้
วางใจ หรือดำเนินกระบวนการถอดถอน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็จะมีฐานอธิบายได้ตามหลักอำนาจ
อธิปไตย และหลักความรับผิดชอบต่อรัฐสภา เพราะเมื่อสภานั้นเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
(และแต่งตั้งรัฐมนตรี) แล้วสภาก็ย่อมมีสิทธิถอนความไว้วางใจและให้พ้นจากตำแหน่งได้ ส่วน
กรณีสมาชิกสภา ก็เท่ากับว่าสภาในฐานะขององค์กรกลุ่มนั้นใช้อำนาจในการวินิจฉัยสมาชิกภาพ
ของสมาชิกรายบุคคลของตนเอง ด้วยมติของเสียงข้างมากในสภา ซึ่งยอมรับได้ เพราะแต่ละคนที่
ออกเสียงนั้นก็เป็นตัวแทนของประชาชน
นอกจากนี้ ปัญหาเกี่ยวกับสถานะและการดำรงตำแหน่งบางเรื่องนั้นก็อาจจะอาศัยกลไกของ
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆได้อยู่แล้ว เช่นการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริต หรือตามกฎหมายจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี รวมถึงกรณีการใช้สิทธิและเสรีภาพ
ตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่
บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็อาจจะดำเนินการห้ามหรือป้องกันได้ ผ่านกระบวนการทางอาญา หรือ
กระบวนตามกฎหมายปกครองอื่นๆ เช่น กฎหมายว่าด้วยการชุมนุม หรือการใช้สิทธิทางการเมือง
เป็นต้น
(ง) อำนาจหน้าที่ซึ่งเกี่ยวกับกิจการพรรคการเมือง การยุบพรรคการเมืองเนื่องจากกระทำ
ความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองที่หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหาร การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
พรรคการเมือง กระทำการที่มีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ฝ่าฝืน