Page 153 - kpi17073
P. 153

152     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       ข้อกำหนดดังกล่าวทำให้ฝ่ายตุลาการมีบทบาทอย่างสูงในกระบวนการสรรหาและแต่งตั้ง
                  องค์กรอิสระ เพื่อเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในขณะที่ฝ่ายตุลาการ ในที่สุดแล้วต้องเป็น

                  องค์กรชี้ขาดหรือทำให้ข้อพิพาทหรือโต้แย้งเกี่ยวกับการใช้อำนาจตรวจสอบอำนาจรัฐนั้นเป็นที่ยุติ
                  ซึ่งความเชื่อมั่นและเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด


                       กล่าวโดยสรุป ในการสร้างความชอบธรรมในการมีและใช้อำนาจของ ก.ก.ต. และ
                  คณะกรรมการ ป.ป.ช. ควรพิจารณาทบทวนและปรับปรุงเริ่มตั้งแต่การเข้าสู่อำนาจ ด้วยการปรับ

                  โครงสร้าง ที่มา องค์ประกอบและกระบวนการสรรหาแต่งตั้ง ดังนี้

                       (1) หลักเกณฑ์และกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งที่ทำให้ได้ ก.ก.ต. และหรือ คณะกรรมการ

                  ป.ป.ช. ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ และมี
                  คุณลักษณะโดดเด่นตามกรอบตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมในด้าน “ความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็น

                  อิสระเป็นกลาง”

                       (2) ปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้กว้างขวาง และเปิดกว้างสำหรับทุก

                  ภาคส่วนในสังคม โดยคณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธาน
                  ศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภา

                  ผู้แทนราษฎร และผู้แทนจากภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาควิชาชีพอิสระ และ
                  สื่อมวลชน ภาคละ 2 คน รวมมีกรรมการสรรหา 15 คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาบุคคลจำนวน
                  เป็น 2 เท่าของจำนวน ก.ก.ต. และหรือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอต่อรัฐสภา


                       ทั้งนี้ กำหนดให้เปิดเผยบัญชีรายชื่อบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาเสนอต่อสาธารณะ

                  ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติและความประพฤติฯ ตามข้อ (3)

                       (3) รัฐสภามีอำนาจหน้าที่พิจารณาเลือกและให้ความเห็นชอบบุคคลที่คณะกรรมการสรรหา

                  เสนอรายชื่อมา โดยให้รัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติและความประพฤติ
                  รวมถึงความรู้ความสามารถและความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่ง ก.ก.ต. และหรือ

                  คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ การอภิปรายและลงมติในรัฐสภาให้กระทำโดยเปิดเผยต่อสาธารณะ


                       ทั้งนี้ กระบวนการสรรหาและแต่งตั้งของคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมาธิการ และ
                  รัฐสภา ต้องเป็นไปโดยเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยมีการให้เหตุผลประกอบการสรรหา การเลือก
                  และแต่งตั้งเพื่อความโปร่งใส และการตรวจสอบรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของฝ่ายผู้มี

                  อำนาจสรรหาและแต่งตั้ง รวมถึงฝ่ายที่ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งต่อไป



                  3.  บทบาทอำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต.
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   ป.ป.ช. ซึ่งแยกพิจารณาเป็น 2 ส่วน คือ
                    และหรือ คณะกรรมการ ป.ป.ช.


                       อีกหนึ่งประเด็นท้าทายสำคัญคือเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต. และหรือ คณะกรรมการ
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158