Page 155 - kpi17073
P. 155
154 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ยิ่งกว่านั้นการกำหนดให้การวินิจฉัยชี้ขาดและสั่งการให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือสั่ง
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งโดย ก.ก.ต.นั้นเป็นที่สุด นับเป็นอำนาจที่มี
ผลกระทบต่อเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน หรือมีผลร้ายแรงเสมือนโทษประหารชีวิต
ทางการเมือง เพราะนอกต้องหมดอนาคตในเส้นทางการเมืองแล้ว ยังถูกจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐาน
ทางการเมืองอื่นๆ ด้วยเหตุเป็นบุคคลผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งด้วย เช่นนี้แล้วควรต้องมีการ
พิจารณาทบทวนในส่วนของบทบาทอำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต. ให้สอดคล้องกับหลักการแบ่งแยก
อำนาจ ให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุล ไม่รวมศูนย์อำนาจทั้งสามประการไว้ที่ ก.ก.ต.เพียงองค์กร
เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดหรืออำนาจกึ่งตุลาการหรืออำนาจตุลาการนั้น
ควรอยู่ในฝ่ายตุลาการที่มีหลักประกันความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ไม่เป็นฝักฝ่ายหรือเป็นผู้มี
ส่วนได้เสียโดยตรง ทั้งนี้ การป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือการลุแก่อำนาจของผู้มีอำนาจ
ต้องใช้ “อำนาจยับยั้งอำนาจ” ซึ่ง Lord Acton กล่าวภาษิตเตือนใจไว้คือ “Power tends to
corrupt, and absolute power corrupts absolutely. Great men are almost always bad
men.”
ข้อเสนอต่อแนวทางการสร้างดุลยภาพในการใช้อำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต. มีดังนี้
(1) การกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต. ต้องสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูป
ทางการเมืองการปกครองในส่วนของการมีกลไกตรวจสอบอิสระเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการและ
ตรวจสอบการเข้าสู่อำนาจรัฐให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรมได้อย่างแท้จริง ซึ่งจำเป็น
ต้องมีหลักประกันความเป็นอิสระและเป็นกลาง รวมถึงการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจ
ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งแนวทางการสร้างดุลยภาพระหว่างบทบาทอำนาจหน้าที่ของ
ก.ก.ต.และองค์กรของรัฐอื่นๆ มี 2 แนวทางเลือก ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 ก.ก.ต.มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการเลือกตั้งทั้งระดับชาติและ
ระดับท้องถิ่น และการจัดการออกเสียงประชามติเป็นหลัก และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ให้ ก.ก.ต. มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติ หรือกติกาเกี่ยวกับการบริหาร
จัดการและการดำเนินการดังกล่าว รวมถึงอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนและสรุปข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ กรณีมีคำร้องเรียนหรือร้องคัดค้านการเลือกตั้ง
สืบสวนสอบสวนกรณีมีผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำการหรือสนับสนุนให้มีการกระทำซึ่งมีผลทำให้
การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้ ภายในกรอบที่รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
กำหนด
นอกจากนี้ ก.ก.ต. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง และการให้การศึกษา
และความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชนเช่นเดิม โดยการยึดแนวทางของกระบวนการประชาธิปไตย และต้องมีแผนงานซึ่งมีตัวชี้
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 วัดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม
ส่วนอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (“ใบเหลือง”) หรือสั่ง
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (“ใบแดง”) และวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ ให้เป็น