Page 121 - kpi17073
P. 121
120 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
เกิดความสำนึกในการทำหน้าที่ปกป้องประเทศชาติ และเป็นกองกำลังสนับสนุนกองทัพของชาติ
ยามเกิดศึกสงคราม ซึ่งพระองค์ทรงได้แบบอย่างมาจากระบบลูกเสือของอังกฤษ (British boy
scout) ซึ่งริเริ่มโดย Sir Robert Baden-Powell (1857-1941) ซึ่งทรงเล็งเห็นว่าระบบลูกเสือจะ
เป็นการสร้างจิตสำนึกในความรักชาติและเสียสละเพื่อชาติให้กับเยาวชนผู้ซึ่งจะเป็นกำลังของชาติ
ในอนาคตได้ ตามที่พระองค์ได้ทรงซึมซับมาจากเมื่อครั้งที่พระองค์ทรงรับการศึกษาในประเทศ
อังกฤษ พระองค์ทรงมีพระกุศโลบายปลูกจิตสำนึกในการรักชาติ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกันที่จะเป็นพลังของแผ่นดิน (power of the nation) ด้วยวิธีการที่หลากหลายแยบยล อาทิ
บทละคร บทเพลง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน หนังสือ บทความ ฯลฯ ดังจะเห็นได้จากพระบรม-
ราโชวาทในคำกลอนของพระองค์ตอนหนึ่งว่า
“ไทยรวมกำลังตั้งมั่น จะสามารถป้องกันขันแข็ง
ถึงแม้ว่าศัตรูผู้มีแรง จะยุทธแย้งก็จะปลาตไป
ขออย่างเดียวผองไทยอย่างผลาญญาติ ร่วมชาติร่วมจิตเป็นข้อใหญ่
ไทยอย่างมุ่งร้ายทำลายไทย จงพร้อมใจพร้อมกำลังระวังเมือง
ให้นานาภาษาเขานิยม ชมเกียรติยศฟูเฟื่อง
ช่วยกันบำรุงความรุ่งเรือง ให้ชื่อไทยกระเดื่องทั่วโลกา
ช่วยกันเต็มใจใฝ่ผดุง บำรุงทั้งชาติศาสนา
ให้อยู่จนสิ้นดินและฟ้า วัฒนาเถิดไทยไชโย”
พระองค์ทรงนำเอาปัญหาความแตกสามัคคีของคนในชาติในอดีตกาลสมัยที่กรุงศรีอยุธยา
เป็นราชธานีของรัฐไทยและต้องเสียกรุงให้กับพม่าถึง 2 ครั้งมาเป็นบทเรียนสำหรับคนไทย 18
โดยทรงนำเอาปัญหาการสูญเสียเอกราชของแคว้นในชมภูทวีปสมัยพระพุทธกาลมาทรงประพันธ์
เป็นกลอนเพื่อสอนให้คนไทยได้เข้าใจว่าความอิจฉาริษยาเป็นต้นเหตุของความหายนะของประเทศ
ชาติ ดังคำกลอนตอนหนึ่งว่า
“... แม้เราริษยากันและกัน ไม่ช้าพลันจะพากันฉิบหาย
ระวังการยุยงส่งร้าย นั่นแหละเครื่องทำลายความสามัคคี
คณะใดศัตรูผู้ฉลาด หมายมาดทำลายให้เร็วรี่
ก็ยุแยกให้แตกสามัคคี เช่นกษัตริย์ลิจฉวีวงศ์โบราณ
พราหมณ์ผู้เดียวรับใช้ไปยุแหย่ สาระแนยุญาติให้แตกฉาน
จนเวลาศัตรูจู่ไปราน มัวเกี่ยงกันเสียการเสียนคร
ฉะนั้นไซร้ขอไทยจงร่วมรัก จงร่วมสมัครสโมสร
เอาไว้เผื่อเมื่อมีไพรีรอน จะได้สู้ดัสกรด้วยเต็มแรง”
และอีกตอนหนึ่งทรงเตือนสติให้คนไทยรู้สึกว่าถ้าประเทศชาติต้องตกเป็นเมืองขึ้นของ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 ชนชาติอื่นแล้ว คนไทยจะหมดศักดิ์ศรีของความเป็นไท หมดคุณค่า ถูกดูหมิ่นดูแคลนจากชนชาติ
ที่เข้ามาครอบครอง ดังกลอนบทหนึ่งของพระองค์ที่ว่า
18
กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310