Page 120 - kpi17073
P. 120

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   119


                            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยในหลักการ แต่ทรงมีความเห็น
                      เพิ่มเติมว่าควรเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (gradual change) โดยทรงเห็นว่าประเทศสยาม

                      ควรปฏิรูปการปกครองเสียก่อน ต่อมาพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ส่งสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์-
                      วโรปการ ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดตั้งเสนาบดีตามแบบยุโรปที่ประเทศอังกฤษ ต่อจากนั้น
                      ไม่นานทรงโปรดเกล้าฯให้มีการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้เหมาะสมกับการปกครองประเทศสยาม

                      แต่ยังมิได้นำออกมาใช้เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าสภาพบ้านเมืองและประชาชนชาวสยาม
                      ในขณะนั้นยังไม่พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงในทันทีทันใด และทรงเห็นว่าถ้าเร่งรีบเปลี่ยนแปลง

                      บ้านเมืองในขณะที่สังคมสยามยังไม่พร้อมก็ย่อมจะเป็นภยันตรายต่อความมั่นคงแห่งชาติได้ ซึ่งใน
                      ห้วงเวลานั้นสยามประเทศก็ยังมีภัยรอบด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการล่าอาณานิคมของ
                      ประเทศมหาอำนาจตะวันตก อย่างไรก็ดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับ

                      ว่าการปกครองประเทศสยามในระบบรัฐสภาและการมีรัฐธรรมนูญแบบตะวันตกจะต้องเกิดขึ้น
                      อย่างแน่นอนเมื่อสภาพของบ้านเมืองและประชาชนชาวสยามมีความพร้อมมากขึ้น พระองค์ทรง

                      ตรัสในที่ประชุมเสนาบดีครั้งหนึ่งว่า “ฉันจะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญให้พลเมืองไทยทันทีที่ขึ้นสู่
                      ราชบัลลังก์ กล่าวคือ ฉันจะให้เขามีปาลิเมนต์และคอนสติติวชั่น” อันเป็นการยืนยันในพระราช
                      ปณิธานและความคิดทางการเมืองอันแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


                            อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองแบบเทวสมมุติ แบบพ่อปกครองลูก และหลัก

                      ธรรมในพุทธศาสนาผสมกลมกลืนกันจนเป็นเอกลักษณ์ของระบบการปกครองไทยที่แตกต่างกับ
                      ประเทศชาติอื่นและประเทศสยามได้รับคุณประโยชน์ให้มีความร่มเย็นเป็นสุข มีความเป็นไท และ
                      เป็นที่ยอมรับในสังคมนานาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                      ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยพร้อมกันถวายสมัญญานามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      ว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” (the most beloved king of the Thais) และเมื่อพระองค์เสด็จ

                      สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 ประชาชนชาวสยามถวายความจงรักภักดีระลึกถึงคุณงาม
                      ความดีของพระองค์เปรียบเสมือน “บิดา” กับ “บุตร” ดังคำกลอนโลกนิติดังต่อไปนี้


                                          บารมีพระมากพ้น                 รำพัน
                                พระพิทักษ์ยุติธรรม์                      ถ่องแท้

                                บริสุทธิ์ดุจดวงตะวัน                     ส่องโลก ไสร์แฮ
                                ทวยราษฎร์รักษ์บาทแม้                     ยิ่งด้วย บิตุรงค์


                            ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2453-2468)
                      ประเทศสยามยังคงเผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะ

                      สิทธิสภาพนอกอาณาเขต (extra-territoriality) ซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม-
                      เกล้าเจ้าอยู่หัวและยังคงเป็นปัญหาทางการเมืองที่ค้างคามาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
                      พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ พระองค์จึงทรงวางพระกุศโลบายปลุกใจลัทธิชาตินิยม (nationalism)

                      สำหรับประชาชนให้หวงแหนความเป็นชาติเอกราช การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้รักสามัคคี
                      การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน ความมุ่งมั่นมานะอดทนและความ                          การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

                      เสียสละเพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ให้มั่นคง ทรงจัดตั้งกองลูกเสือป่าเพื่อกระตุ้นให้เยาวชน
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125