Page 33 - kpi16607
P. 33

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





                   ผู้ศักดิ์สิทธิ์ห้าคนที่ตัดสินด้วยเสียงข้างมาก และเป็นคณะบุคคลที่กษัตริย์ต้อง

                   รับฟัง จะเห็นได้ว่าจากทั้งสองกรณีข้างต้น เพลโตใส่ใจกับอันตรายของอำนาจ
                   ทางการเมืองที่สมบูรณ์เด็ดขาด เขาเห็นว่าจะต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ
                   ซึ่งสามารถทำได้โดยแบ่งอำนาจไปยังส่วนต่างๆ ในการปกครอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง

                   ก็คือ Plato ได้กล่าวถึงการผสมผสานองค์กรและกลไกต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                   การผสมผสานระบอบการปกครองต่างๆ เพื่อให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลในด้าน
                         31
                   ต่าง ๆ  หลังจากเพลโต Kurt von Fritz ชี้ว่า เราจะพบแนวคิดดังกล่าวนี้ ในงาน
                   ของอริสโตเติลและศิษย์ของเขาที่ชื่อ Dicaearchus แต่ที่ปรากฏชัดเจนที่สุดและมี
                   อิทธิพลต่อแนวคิดทางการเมืองและการออกแบบสถาบันทางการเมืองในยุคสมัย
                   ใหม่ก็คือ งานของโพลีเบียส (Polybius:200-118 BC) ที่ได้กล่าวถึงปัญหาวิกฤต

                   ทางการเมืองการปกครองที่เรียกว่า anakuklosis หรือที่รู้จักกันในชื่อ “วัฏจักร
                   ของรูปแบบการปกครอง” (cycle of the constitution) และโพลีเบียสได้นำ
                   ทฤษฎีรูปแบบการปกครองแบบผสมในฐานะที่เป็นทางแก้ปัญหาดังกล่าว และงาน

                   ของโพลีเบียสได้ส่งอิทธิพลต่องานเขียนชื่อ De
re
publica ของซิเซโร (Cicero)
                   ด้วย และแม้ว่างานเขียนของซิเซโรจะถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1821 แต่แนวคิดเรื่อง    2
                   การปกครองแบบผสมและการตรวจสอบถ่วงดุลก็ปรากฏในงานของนักคิดทางการ

                   เมืองปลายยุคกลางอย่างอไควนัส (St. Thomas Aquinas) และต่อมา แนวคิด
                   ดังกล่าวก็ปรากฏในงาน
Discourses ของมาคิอาเวลลีซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของ
                   ทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ และในความเห็นของ Kurt von Fritz ทฤษฎีการ

                   ปกครองแบบผสมนี้ได้พัฒนาถึงจุดสูงสุดในต้นศตวรรษที่สิบแปดในงาน The
                   Spirit of the Laws ของมงเตสกิเออ (Montesquieu) โดยในงานของมงเตสกิ
                   เออได้ชี้ให้เห็นว่า การปกครองของอังกฤษมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการปกครอง

                   ของโรมัน และทฤษฎีการเมืองการปกครองของเขามีอิทธิพลต่อการกำหนด
                   รูปแบบการปกครองของสหรัฐอเมริกาด้วย และด้วยเหตุนี้ Kurt von Fritz จึงได้
                   สรุปว่ารูปแบบการปกครองสมัยใหม่ในโลกส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการปกครองแบบ







                   
  31   Kurt von Fritz, The Theory of the Mixed Constitution in Antiquity: A
                   Critical Analysis of Polybius’ Political Ideas, opcit., pp. v-vi.




                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38