Page 28 - kpi16607
P. 28
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
คนที่ต้องการให้มีการปกครองในแบบอื่นที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย, กี่ครั้งแล้วที่
ราชาธิปไตยและคณาธิปไตยถูกโค่นล้มโดยประชาชน; กี่ครั้งแล้วที่ส่วนหนึ่ง
ของผู้ที่พยายามจะสถาปนาระบอบทรราชถูกโค่นล้มอย่างราบคาบทันที;
ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งได้รับการยกย่องว่าทรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาและโชคดี ถ้าพวก
เขายังสามารถสืบสานรักษาการปกครองของเขาต่อไปได้.....จากที่กล่าวไปนี้
เราคงเห็นได้ว่า เมื่อพิจารณาจากธรรมชาติของมนุษย์ จะพบว่า มันเป็นการ
ง่ายกว่าที่พวกเขาจะปกครองเหนือสัตว์ชนิดอื่นๆ มากกว่าที่จะปกครองมนุษย์
ด้วยกันเอง” แม้ว่าเซโนฟอนจะไม่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ
22
การปกครองทั้งสามนี้ในเชิงวัฎจักรอย่างชัดเจน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโจทย์หรือ
ปัญหาของเขาใน The Education of Cyrus ก็คือการเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่าง
รูปแบบการปกครองทั้งสาม และเขาต้องการตอบโจทย์นี้โดยนำเสนอวิธีการ
ปกครองที่มีเสถียรภาพ ในปรัชญาการเมืองของเพลโตเราจะพบการวิเคราะห์ข้อดี
ข้อเสียของรูปแบบการปกครองทั้งสามรูปแบบที่เป็นระบบชัดเจนกว่าของพินดาร์
และเฮโรโดตัส และอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นนักปรัชญาการเมือง ในโลกตะวันตกคน
20 แรกที่เริ่มต้นศึกษาแจกแจงและวิเคราะห์ระบอบหรือรูปแบบการปกครองอย่าง
จริงจัง โดยเนื้อหาในส่วนดังกล่าวนี้ปรากฏอยู่ในบทสนทนาจำนวนหนึ่งของเขา
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน the Republic
ใน the Republic รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดในความคิดของเพลโตคือ
รูปแบบการปกครองที่ปกครองโดยผู้ปกครองที่มีความรู้และคุณธรรม โดยเขา
ได้ให้โสเครติสผู้เป็นตัวละครสำคัญในข้อเขียนของเขากล่าวว่า จะไม่มีวันที่ผู้คน
ในระบอบการปกครองใดในโลกนี้จะมีความสุขและปลอดจากปัญหาต่าง ๆ ได้
อย่างแท้จริง ยกเว้นว่า ในระบอบการปกครองนั้น อำนาจทางการเมืองกับความ
ระหว่างประชาธิปไตยในแบบของเอเธนส์กับคณาธิปไตยในแบบของสปาร์ตา ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุ
ของมหาสงครามระหว่างทั้งสอง ซึ่งมีสถานะเป็นมหาอำนาจทั้งคู่ในหมู่นครรัฐกรีกโบราณ และ
ในระหว่างมหาสงครามนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงโค่นล้มไปมาระหว่างรูปแบบการปกครองทั้งสองนี้
ดังปรากฏในงาน Donald Kagan, The Outbreak of the Peloponnesian War, (Ithaca:
Cornell University Press: 2013) เป็นต้น และในระหว่างมหาสงครามนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลง
โค่นล้มไปมาระหว่างรูปแบบการปกครองทั้งสองนี้
22 Xenophon, The Education of Cyrus, ibid., pp. 21-22.
สถาบันพระปกเกล้า