Page 30 - kpi16607
P. 30
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
กาลเวลาภายใต้วัฎจักรของการหมุนเวียนเปลี่ยนผ่าน เพลโตได้เขียนอธิบายถึง
วัฎจักรการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการปกครอง จากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบ
หนึ่ง โดยรูปแบบการปกครองที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่านต่อ ๆ กันในความคิดของ
เพลโตมีทั้งสิ้น 5 แบบ โดยแบ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด และรูปแบบการ
ปกครองที่เสื่อมอีก 4 แบบ นั่นคือ Aristocracy, Timarchy, Oligarchy,
Democracy, Tyranny ขณะเดียวกัน ถ้าพิจารณาลงในรายละเอียด จะพบว่า
มีรูปแบบการปกครองมากมายหลากหลายพอๆกับลักษณะนิสัยใจคอต่างๆ ของ
คน เพราะรูปแบบการปกครองไม่ได้เกิดขึ้นมาจากดินหรือก้อนหิน แต่เกิดขึ้นตาม
ลักษณะนิสัยใจคอของพลเมืองในสังคมนั้น ในข้อความใน the Republic, Book
26
VIII, 546a-b เพลโตเขียนไว้ว่า “..Hard in truth it is for a state thus
constituted to be shaken and disturbed, but since for everything
that has come into being destruction is appointed, not even such a
fabric as this will abide for all time, but it shall surely be
dissolved, and this is the manner of its dissolution. Not only for
22 plants that grow from the earth but also for animals that live upon
it there is a cycle of bearing and barrenness for soul and body as
often as the revolutions of their orbs come full circle, in brief
courses for the short-lived and oppositely for the opposite.”
และ
ถ้าพิจารณาภายใต้สิ่งที่แฮนเซนได้กล่าวไว้ นั่นคือ การแบ่งประเภทของรูปแบบ
การปกครองทั้งสามนี้ดูจะเริ่มต้นปรากฏในเห็นเป็นครั้งแรกในงานของกวีที่ชื่อ
พินดาร์ (Pindar) และปรากฏต่อมาในข้อถกเถียงเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองใน
งานที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปของเฮโรโดตัส และต่อมามันได้กลายเป็นรากฐานสำคัญ
ที่เก่าแก่ที่สุดอันหนึ่งของการคิดถกเถียงเกี่ยวกับประเภทของรัฐ เราจะเห็นได้ว่า
ตั้งต้นจากรูปแบบการปกครองโดยผู้ปกครองที่รักในความรู้ (philosopher-ruler)
26 Plato, Republic, ibid., Book VIII, 544e: “…there must be as many types of
character among men as there are forms of government…Or do you suppose that
constitutions spring from the proverbial oak or rock and not from the characters of
the citizens, which, as it were, by their momentum and weight in the scales draw
other things after them ?”
สถาบันพระปกเกล้า