Page 31 - kpi16607
P. 31

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





                   หรืออีกนัยหนึ่งคือ รูปแบบการปกครองโดยคน ๆ เดียว และต่อมาเปลี่ยนไปเป็น

                   รูปแบบการปกครองโดยกลุ่มคนและต่อมาเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการปกครองโดยคน
                   จำนวนมากและมาสู่ทรราชหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ วนกลับมาสู่รูปแบบการปกครอง
                                         27
                   โดยคน ๆ เดียวอีกนั่นเอง  และเมื่อพิจารณามุมมองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูป
                   แบบการปกครองทั้งสามของเซโนฟอน เพลโตและอริสโตเติลโดยรวม กล่าวได้ว่า
                   ทั้งสามเห็นความไม่แน่นอน ไร้เสถียรภาพของรูปแบบการปกครองทั้งสามแบบ
                   และทั้งสามก็พยายามจะหาทางที่จะให้มีรูปแบบการปกครองที่มีเสถียรภาพและ

                   ยั่งยืน ใน The
Education
of
Cyrus เซโนฟอนมุ่งให้คำตอบผ่านข้อแนะนำ
                                                                        28
                   สำหรับรูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคน ๆ เดียว 
ขณะเดียวกันใน
                   โลกแห่งความเป็นจริงที่ไม่ใช่โลกของแบบเพลโตย่อมเห็นว่า ไม่มีรูปแบบการเมือง

                   การปกครองใดจะสามารถอยู่ยั้งจีรังได้เป็นอมตะถาวร เพียงแต่จะช้าหรือเร็ว
                   เท่านั้น และเขาก็ได้อธิบายถึงปัจจัยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบ
                   การปกครองหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบการปกครองหนึ่ง โดยชี้ให้เห็นว่าปัจจัยเด่นของ

                      27   และต้องพึงสังเกตด้วยว่า เพลโตได้เขียนไว้ว่า เมื่อสถานการณ์สุดโต่งจนถึงที่สุดท่ามกลาง  23
                   ความแตกแยก ไร้ระเบียบของผู้คนในฝักฝ่ายต่าง ๆ ที่ต่างมุ่งมั่นถอดถอนให้มีการถอดถอน
                   ตัดสินลงโทษกันและกัน และมวลประชามหาชน (demos) นั้นจะถวิลเรียกร้องหา ใครสักคนหนึ่ง
                   ที่สามารถขึ้นมาเป็นผู้ปกป้องรักษาความสงบ โดยประชาชนจะรักชื่นชมและทำให้เขาผู้นั้น
                   มีอำนาจยิ่งใหญ่ และในที่สุดประชาธิปไตยก็เป็นตัวส่งให้ความเป็น “ทรราช” เริ่มถือกำเนิดขึ้น
                   และในเบื้องต้นที่บังเกิด “ทรราช” ประชาชนคนส่วนใหญ่จะยังไม่ได้มองเขาผู้นั้นในฐานะ
                   “ทรราช” และเขาก็ยังไม่ได้เป็นทรราชสมบูรณ์เต็มตัว ช แต่เมื่อเขาผู้นั้นได้กลายเป็นทรราช
                   เต็มตัวแล้ว ช เพลโตได้เขียนให้โสเครติสกล่าวถึงชีวิตอันเต็มไปด้วยความทุกข์มหันต์อันเกิดจาก
                   สภาวะความเป็นทาสทางอารมณ์จิตใจของตัวทรราชเอง และพยามยามชี้ให้เห็นว่า หากเขาผู้นั้น
                   ต้องการที่จะเป็นผู้ปกครองที่มีความสุขและเป็นอิสระและสามารถปกครองตัวเองและประชาชนได้
                   อย่างแท้จริง เขาผู้นั้นก็จะต้องเรียนรู้ที่จะหลุดพ้นจากความเป็นทรราช 27 หรืออีกนัยหนึ่งคือ
                   หลุดพ้นเปลี่ยนผ่านจากทรราชเข้าไปสู่เส้นทางของการเป็นผู้ปกครองที่รักในความรู้ (philosopher-
                   ruler) Plato, Republic, ibid., Book VIII, 565c: “And then there ensue impeachments
                   and judgements and lawsuits on either side?”; 565c: “And then there ensue
                   impeachments and judgements and lawsuits on either side?”; 565c: “And is it not
                   always the way of a demos to put forward one man as its champion and protector
                   and cherish and magnify him.”
                      28   อันเป็นต้นแบบและงานเขียนที่มีอิทธิพลต่อ The
Prince
ของมาคิอาเวลลี ดู บทที่สิบสี่
                   เป็นต้น




                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36