Page 36 - kpi16607
P. 36

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





               พระมหากษัตริย์ โดยส่วนประชาธิปไตยได้เติบโตเข้มแข็งมากขึ้น อย่างไร

               ก็ตาม พัฒนาการทางการเมืองของเดนมาร์คก็มิได้ดำเนินไปอย่างปราศจาก
               การถดถอยและการท้าทายที่ยังไม่ลงตัว”  ซึ่งคำกล่าวของ Svensson สามารถ
                                                    36
               เชื่อมโยงกับสิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงความเห็นของ Knudsen และ Jakobsen

               ไปแล้ว โดยทั้งสองได้ตั้งข้อสังเกตต่อประเด็นนี้ว่า จนถึงปัจจุบัน เดนมาร์ค
               ยังคงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ยังมีเนื้อหาหลักที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1849 และไม่มีการ
               บัญญัติคำว่า “ประชาธิปไตย” ไว้ในรัฐธรรมนูญเลย แม้ว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติม

               ต่อมาก็ตาม หากพิจารณาภายใต้กรอบมุมมองหรือทฤษฎี “รูปแบบ
               การปกครองแบบผสม” (a mixed constitution/regime) ที่มุ่งไปที่รูปแบบ
               การปกครองที่เป็นไปได้และดำรงอยู่อย่างมีเสถียรภาพและความมั่นคงในทาง

               ปฏิบัติ เราจะพบว่าอาการแกว่งไปแกว่งมา (oscillation) ทางการเมืองตามความ
               เห็นของยศนั้นเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะทำให้อำนาจทางการเมืองอยู่ที่ฝ่ายใด
               ฝ่ายหนึ่งอย่างสมบูรณ์สุดโต่ง ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะทำให้อำนาจทาง

               การเมืองอยู่ในมือของคน ๆ เดียว กลุ่มคนหรือมหาชนอย่างสมบูรณ์หรือสุดโต่ง
          2    ซึ่งปรากฏชัดเจนและเข้มข้นในประสบการณ์ทางการเมืองของนครรัฐกรีกโบราณ

               ความพยายามดังกล่าวนี้อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎีความคิดจินตนาการ แต่ในทาง

               ปฏิบัติความพยายามดังกล่าวจะต้องลงเอยด้วยรูปแบบการปกครองที่เป็นเผด็จการ
               ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการโดยคนๆเดียว กลุ่มคนและแม้แต่เผด็จการโดยมหาชน และ
               หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดวิกฤต-ความสับสนวุ่นวายทางการเมือง อันเกิดจาก

               ความพยายามที่จะดึงอำนาจทางการเมืองกลับไปที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และเมื่อมีการ
               เปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็จะลงเอยด้วยการที่อำนาจทางการเมืองไปกระจุกตัว
               หรือถูกผูกขาดโดยอีกฝ่ายหนึ่ง หากแต่ละฝ่ายในสังคมนั้นยังคงตกอยู่ภายใต้

               กรอบคิดหรือทฤษฎีที่มุ่งเน้นให้อำนาจทางการเมืองอยู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่าง
               สมบูรณ์หรือสุดโต่ง วนเวียนกันอยู่เช่นนี้ภายใต้ “วัฏจักรของรูปแบบการ
               ปกครอง” (cycle of the constitution/ anakuklosis) ตามที่ปรากฏในงานของ

               โพลีเบียสดังที่ผู้เขียนได้อ้างถึงไปข้างต้น ดังนั้น หากพิจารณาภายใต้กรอบมุมมอง


                  36   Palle Svensson, Professor of Political Science, Aarhus University, Denmark, “The
               Constitution of Denmark,” http://fuau.dk/aarhus/program/samfund-og-verden/the-
               constitutional-act-of-denmark-1511-415.aspx




         สถาบันพระปกเกล้า
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41