Page 35 - kpi16607
P. 35

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





                   aristocracy” และสุดท้ายคือ “mixed democracy”  ในทรรศนะของ
                                                                        33
                   Hansen รูปแบบการปกครองสมัยใหม่หลักสามแบบ อันได้แก่ ระบอบ
                   ประธานาธิบดีตามตัวแบบสหรัฐอเมริกา ระบอบรัฐสภาตามตัวแบบของอังกฤษ
                   และระบอบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีตามตัวแบบของฝรั่งเศสต่างเป็นระบอบการ

                   ปกครองแบบผสมทั้งสิ้น  และถ้าเรานำมาเชื่อมโยงกับทรรศนะของ Fukuyama
                                        34
                   ในเรื่องประเด็น “เสรีประชาธิปไตย” เราก็สามารถสรุปได้ว่า ระบอบเสรี
                   ประชาธิปไตยก็คือระบอบการปกครองแบบผสม (liberal democracy as a

                                                                        35
                   mixed regime) ตามที่ Harvey C. Mansfield Jr. ได้กล่าวไว้

                         ในกรณีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของเดนมาร์คในปี ค.ศ. 1849 Palle
                   Svensson ศาสตราจารย์ทางรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Aarhus ประเทศ
                   เดนมาร์ค ได้กล่าวถึงระบอบการปกครองและรัฐธรรมนูญของเดนมาร์คไว้ว่า
                   “เดนมาร์คมีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ซึ่งกำหนดหลักการพื้นฐานของ

                   ระบบการเมือง บ่อยครั้งที่ประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญถูกเข้าใจว่าเป็น
                   สิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ มิได้ถูกกล่าว  2
                   ถึงเลยในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของเดนมาร์ค หลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ

                   ฉบับแรกของเดนมาร์คปี ค.ศ. 1849 คือ การปกครองแบบผสม (a mixed
                   constitution) ระหว่างส่วนที่เป็นประชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและสถาบัน
                   พระมหากษัตริย์ และพัฒนาการในเวลาต่อมาของการเมืองการปกครองเดนมาร์ค

                   ได้นำไปสู่การยกเลิกและลดทอนส่วนที่เป็นอภิชนาธิปไตยและส่วนสถาบัน



                   
  33
   Henry J. Merry, Montesquieu’s System of Natural Government, (West
                   Lafayette: Purdue University Press: 1970), “mixed monarchy” pp. 165-166, 177-180,
                   223-226, “mixed aristocracy” pp. 219, 225, “mixed democracy” pp. 168, 225; Francis
                   D. Wormuth, The Origins of Modern Constitutionalism, (New York: Harper &
                   Brothers: 1949), Chapter VII, “Mixed Monarchy”, pp. 50-58.
                      34   Mogens Herman Hansen, “The Mixed Constitution versus the Separation of
                   Powers: Monarchical and Aristocratic Aspects of Modern Democracy,” History of
                   Political Thought 31 (3), 2010, pp. 509-531.
                      35    Harvey C. Mansfield Jr., The Spirits of Liberalism, (Cambridge, Mass.: Harvard
                   University Press: 1979), Chapter I: “Liberal Democracy as a Mixed Regime” pp. 1-15.




                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40